วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เด็กๆ ที่ลำปลายมาศพัฒนามีการบ้านหรือเปล่า ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  การให้การบ้านเด็กนั้นที่ลำปลายมาศพัฒนาเรามีวัตถุประสงค์หลักที่สำคับคือ  ให้เพื่อฝึกความรับผิดชอบ  ส่วนทักษะต่างๆ เป็นเรื่องรอง  เพราะเราไม่ได้คาดหวังให้เกิดทักษะอะไรมากมายกับการบ้านไม่กี่ข้อ  ขอแค่ให้เขามีอะไรที่ต้องทำหลังจากกลับไปบ้าน และการบ้านก็ไม่ควรให้เยอะ  หรือใช้เวลาในการทำนานเกินไป  เพราะอาจจะทำให้เด็กเกิดอาการเบื่อที่จะทำ  เบื่อที่จะรับผิดชอบและเบื่อการเรียนรู้
          แต่การที่เด็กได้ไปมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว  ได้เล่นกับเพื่อน  ได้พูดคุยกับคนรอบข้าง  มันมีหลักสูตรซ้อนที่มีค่ามีความหมายต่อข้างในตัวเขามากกว่าสิ่งที่เราสอนเขาในห้องเรียนซะอีก

การจัดการเรียนการสอนของลำปลายมาศพัฒนาบอกว่าไม่ได้เน้นความรู้ แล้วมุ่งเน้นสิ่งใด ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


ตอบ  :  การเรียนบูรณาการคือการหลอมรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน  สิ่งที่เน้นไม่ใช้ความรู้  เพราะตัวความรู้เปลี่ยนทุกวัน  และสมองของคนเราไม่สามารถทำความรู้ทุกอย่างได้แน่นอน  ที่สำคัญสมองของคนเราถูกสร้างมาไว้เพื่อคิด  มากกว่าไว้เพือ่จำ  เราจึงต้องการที่จะ

พัฒยนาทักษะที่เป็นเครื่องมือที่สำัคัญสำหรับอนาคต  ได้แก่
  1. ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้  (Inquiry)  
  • การตั้งคำถาม 
  • สืบค้น
  • รวบรวมข้อมูล
  • จัดกระทำข้อมูล
  • วิเคราะห์ผล
  • สรุป
  • เขียนรายงาน
  • นำเสนอ
   2.  ทักษะการคิด   ทั้งการคิดระดับต้น  เป็นการคิดเชิงเหตุผล  (Logic)  ได้แก่  
                                                   การคิดวิเคราะห์
                                        การคิดสังเคราะห์  คิดมโนทัศน์
                                                   คิดวิจารณญาณ  

การคิดระดับสูง  ได้แก่  จินตนาการและคิดสร้างสรรค์
การคิดระดับสูงสุดได้แก่  การคิดเชิงอนาคตหรือวิสัยทัศน์

เพื่อพัฒนาให้เกิดทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้  (เรียนรู้อย่างมีความสุข)

เพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  และบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนอกกะลา  เขียนโดย  วิิเชียร  ไชยบัง

ขณะที่เดินสังเกตกิจกรรมช่วงเช้าของลำลปายมาศพัฒนา จะได้ยินเสีงเพลงจากทุกห้องเรียนไม่ทราบว่าเปิดเพลงเพื่ออะไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  เพลงที่เราใช้ที่ลำปลายมาศพัฒนามี  2  แบบ  คือกระตุ้นสมอง  และพัฒนาคลื่นสมอง  ในช่วงเข้าจนถึงช่วงของวิชาจิตศึกษา  (เพิ่มช่วงเด็กอนุบาลนอนด้วย)  ครูจะเปิดเพลงบรรเลงพัฒนาคลื่นสมอง  จากนั้นในช่วงที่เด็กทำงานทำกิจกรรม  เราจะเปิดเพลงบรรเลงกระตุ้นสมอง
          ดนตรีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมอง  กระตุ้นสมองให้การส่งถ่ยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งจะมีความซับซ้อนของเสียงมาก  เช่น  ดนตรีของ  Mozart,  Vivaldi,  Handel  กลุ่มที่มีความถี่ต่ำซึ่งจะทำให้สมองของผู้ฟังลดความถี่ลง  เช่น  เสียงเพลงปลาวาฬ  เสียงสวดโอมฤๅษี  เพลง  Mantra  เสียงเคาะไม้ไผ่  เพลง  Spa  
          บางห้องเรียนจะจุดกลิ่นอะโลมาเทอราพี  เพื่อให้กลิ่นช่วยกระตุ้นสมอง  ทำให้ผ่อนคลาย  จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่า  กิจกรรมจิตศึกษาของเราทำให้เด็กคงสมาธิได้ยาวขึ้นมาก  สามารถทำกิจกรรมกับครูได้นาน  โดยเฉพาะเด็กอนุบาลจะนั่งฟังนิทาน  ทำกิจกรรม  จดจ่อ  คงสมาธิยาวมาก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การให้เด็กเป็นคนเลือกหัวข้อที่อยากเรียนเอง มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในหัวข้อและอยากเรียนในเรื่องเดียวกัน ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  ที่ลำปลายมาศพัฒนาเราไม่ได้แยกสอน  8 สาระ  แต่เราจัดการเรียนเป็นบูรณาการโดยโครงงาน  มี  3  วิชาที่แยกออกมาสอนเป็นบุรณาการในวิชาคือ  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  ดังนั้นการที่จะทำให้การเรียนการสอนมีความหมาย  ผู้เรียนมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการได้มาของหัวข้อที่จะเรียน  ซึ่ง พรบ.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานปี  51  ก็ให้ครูออกแบบการสอนเป็นหน่วยบูรณาการ  ซึ่งการได้มาของหน่วยที่ดีมาจากสองส่วนคือ  จากตัวครู  และจากตัวนักเรียน (สำรวจความสนใจ)  ดังนั้นในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนที่ลไปลายมาศพัฒนาจะเป็นสัปดาห์ของการสร้างแรงบันดาลใจหรือสร้างแรงจูงใจ  โดยผ่านหลายๆ อย่าง  เช่น  ดูสารคดีบางเรื่อง  ดูคริปต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เรื่องเล่า  นิทาน  ประสบการณ์  จัดบรรยากาศในชั้นเรียน  ผู้รู้  เป็นต้น
          เมื่อเราสร้างแรงบันดาลใจแล้วก็จะมาถึงขั้นของการเลือกหัวข้อของเด็กๆ ที่ลำปลายมาศพัฒนาเราจะไม่ใช้วิธีเสนอหัวข้อแล้วยกมือโหวดเรียนตามเสียงข้างมาก  เพราะมันไม่แฟร์สำหรับคนที่ไม่อยากเรียนเพราะทุกคนในห้องไม่อยากเรียนในหัวข้อที่เลือก  แต่เราจะหาสิ่งที่เด็กอยากเรียน  เป็นสิ่งที่มีความหมายกับผู้เรียน  เป็นข้อสงสัย  หรือเป็นแรงบันดาลใจ  ดังนั้นครูที่นี้จะใช้เครื่องมือคิดมาช่วย  เช่น
  • Think pair Share  คือ  Think  คนเดียว  แต่ละคนเขียนหรือวาดภาพสิ่งที่ตัวเองสนใจ  อยากเรียนรู้  ให้ได้มากที่สุด  จากนั้นก็  Pair  จับคู่  นำสิ่งที่แต่ละคนคิดหรือเขียนคนเดียวมาและเปลี่ยนกันกับเพื่อน  แล้วเขียนสิ่งที่เหมือนกัน  คล้ายกัน  หมวดมู่  ประเภท  ชนิดเดียวกันหรือคิดขึ้นใหมได้ระหว่่างคู่ให้ได้มากที่สุด  ต่อมาก็คือ  Share  ทำคล้ายขั้นตอน  Pair  แต่ทำรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
  • Chart & Card  คือ  ครูแจกระดาษแผ่นเล็กให้เด็กเขียนวิ่งที่สนใจอยากเรียนรู้แผ่นละหนึ่งอย่าง  คนละ  3-5  แผ่น    แล้วให้ทุกคนจัดกลุ่ม  สิ่งที่คล้ายกันเข้ากลุ่มเดียวกัน  ครูก็จะได้หัวข้อที่เด็กอยากเรียน
  • หรือเทคนิคการระดมความคิด  เช่น  Round Table,  Round Robin,  Place Mat,  Brainstorming,  Blackboard Share
พอได้สิ่งที่เด็กทุกคนอยากเรียนรุ้ร่วมกันแล้ว  จากนั้นก็ให้ทุกคนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยให้น่าเรียน  น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเิติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง
หรือดูเพิ่มเติมได้ที่ http://theeyelpmp.blogspot.com/2010/08/blog-post.html?spref=fb

อะไรคือปัจจัยในการกระตุ้นสมองและปัจจัยใดทำให้สมองถูกปิดกั้น ?


(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  : ปัจจัยที่มีผลต่อการกระตุ้นสมองคือ
  • การออกกำลังกาย
  • การเล่น  การทำงานเป็นกลุ่ม  สัมพันธภาพที่ดี
  • สภาพแวดล้อม  คนรอบข้าง
  • การได้รับความรัก  หรือการได้รับการสัมผัสโอบกอด
  • การเห็นคุณค่าต่อตัวเอง  รู้สึกดีต่อตัวเอง
  • การได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ  ศิลปะ  ดนตรี
  • ภาวะคลื่นสมองต่ำ  จะทำให้เราผ่อนคลาย  อิ่มเอม  มีความสุข  ภูมิต้านทานเพิ่ม  เรียนรู้ได้ดี  จำจำได้นาน  เกิดจินตนาการ  เกิดความคิดสร้างสรรค์  ญาณปัญญาผุด  จิตใต้สำนึกเปิด  
           ความถี่ของคลื่นสมองจะสัมพันธ์กับการหลั่งสารเคมีในสมอง  ถ้าความถี่ของคลื่นสมองสูงก็จะมีสารเคมีกลุ่มกดสมองมาก  ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะสมองปิดกั้นการเรียนรุ้  และตรงกันข้ามเมื่อความถี่ของคลื่นสมองต่ำสารเคมีกลุ่มกระตุ้นสมองก็จะทำงาน
           ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสภาวะคลื่นสมองต่ำ
  1. กัลยาณมิตร  ความรัก  ชม  สัมผัสโอบกอด
  2. เรื่องเล่าที่ดี  ทำให้เกิดจินตนาการ  มีอารมณ์ร่วม  ผ่อนคลาย  ทำให้คลื่นสมองต่ำ
  3. สี  แสง  แสงจ้าเกินไปหรือสลัวเกินไปจะทำให้คลื่นสมองสูง  แสงจากหลอดฟูออเรสเซนต์ก็ทำให้คลื่นสมองสูง  สีโทนเย็น  เช่น  สีเขียว  สีฟ้า  จะทำให้คลื่นสมองต่ำ
  4. สมาธิ  กำกับสติ  เมื่อเด็กมีสมาธิจดจ่อ  ความถี่คลื่นสมองจะต่ำและถ้าเด็กสามารถคงสมาธิไ้ด้ยาว  ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
  5. ดนตรี  การวิจัยพบว่าเด็กทารกที่ได้ฟังเพลง  Lullaby Brahms  จะมีน้ำหนักขึ้นเร็วกว่าที่ไม่ได้ฟัง  ดนตรีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองด้วย  แบ่งเป็นสองกลุ่ม  กลุ่มที่หนึ่งกระตุ้นสมองให้การส่งถ่ายข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  กลุ่มที่สองจะมีคลื่นความถี่ต่ำ  ทำให้สมองผู้ฟังลดความถี่ลง
  6. น้ำ  ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง  84  %  สมองจะแสดงอาการขาดน้ำได้เร็วกว่าความรู้สึกของร่างกายที่กระหายน้ำ  อาการที่สมองขาดน้ำ  เช่น  เครียด  สมองอ่อนล้า  คิดอะไรไม่ออก
  7. อาหาร     อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรทสูงจะทำให้ระดับ  trytophan  ในสมองสูงขึ้นช่วยให้รู้สึกสบายใจและนอนหลับ
  8. อากาศ  สมองใช้อออกซิเจนประมาณ  1  ใน  4  ของออกซิเจนที่เราหายในเข้าไป  วันหนึ่งๆ ควรให้เด็กได้หายใจด้วยท้อง  5-10  นาที 
  9. บริหารสมอง  (Brain Gym)  ไมม่ใช้กิจกรรมที่ลดความถี่ของสมองโดยตรง  แต่เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้เพื่อลดความเครียดของสมองทั้งยังกระตุ้นการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี 
  10. กลิ่น  ทำให้เกิดความทรงจำ  ทำให้สมองและกล้ามเนื้อผ่อนคลาย  กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต  ร่างกายขจัดของเสียออกได้มาก  หัวใจอละสมองทำงานได้ดี
  11. นอนหลับ  ผ่อนคลาย
  12. โยคะ  เป็นแนวทางการฝึกควบคุมตัวเองทางด้ารร่างกายและจิตใจ 
  13. การคิดและจินตนาการ
ปัจจัยที่กระตุ้นให้สารเคมีกลุ่มกดสมองหลั่ง
  • ถูกดุด่า  ตวาด  เย้ยหยัน
  • ถูกลงโทษด้วยการตี
  • ถูกกเปรียบเทียบว่าด้อยค่า
  • ถูกบังคับ
  • ถูกกดดัน
  • ความรู้สึกว่าไม่ได้รับความรัก
  • ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเีรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนฉลาดต่างกัน ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  ที่จริงแล้วมนุษย์แต่ละคนมีจำนวนเซลล์สมองมากพอๆ กัน  เมื่อโตขึ้นเซลล์สมองไม่ได้เพิ่มขึ้น  แต่จะขยายตัวและเพิ่มใยประสาทเพื่อเชื่อมระหว่างเซลล์  โดยข้อมูลจะ๔กส่งผ่านทางสายใย  ส่งข้อมูล  (Axon)  ไปยังสายใยรับข้อมูล  (Dendrites)  ของเซลล์ประสาทตัวรับ  โดยจะมีจุดเชื่อม  (Synapse)  เมื่อมีข้อมูลผ่านบ่อยๆ จะทำให้จุดเชื่อมนี้แข็งแรง  เซลล์สมองแต่ละตัวจะมีจุดเชื่อม  5,000-10,000  จุด
          เซลล์สมองทำงานลำพังไม่ได้  ธรรมชาติของเซลล์สมองต้องการการเชื่อมต่อกับเซลล์อื่นๆ 
ใยสมองและการเชื่อมต่อเป็นปัจจัยหนึ่งของความสามารถทางสมอง  หรือความฉลาด
การส่งสัญญาณในสมอง
          การส่งสัญญาณในสมองเดี่ยวข้องกัยสองสิ่ง  ได้แก่  กระแสไฟฟ้าในเซลล์สมอง  และสารเคมีในสมอง
          การแสไฟฟ้าในสมองจะทำให้ใยประสาทตัวส่ง  หลั่งสารเคมีผ่านจุดเชื่อมไปยังใยประสาทตัวรับ
สารเคมีในสมองมี  2  กลุ่ม  
  • กลุ่มกระตุ้นสมอง  เช่น  Endorphin  ทำหน้าที่    ควบคุมอารมณ์  ความประพฤติ  และการแสดงออก  สมองตื่นตัว  เรียนรู้ได้เร็ว  รุ้สึกดีมีความสุข  ภูมิต้านทานเพิ่ม  สุขภาพแข็งแรง
  • กลุ่มกดสมอง  เช่น  Cortisol   ในสมองจะหลั่งเมื่อเกิดสภาวะตกใจ  การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการอยุ่รอด  ความเครียด  ความวิตก  ซึมเศร้า  ซึ่งจะส่งผล  ยับยั้งการเติบโตของใยประสาท  ยับยั้งการส่งผ่านข้อมูล  ปิดการเรียนรู้  ยับยั้งเส้นทางความจำ  ภูมิต้านทานต่ำ  สมาธิสั้น
คลื่นสมอง  สมองคนเราประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายพันหล้านเซลล์  แต่ละเซลล์ได้สร้างกระแสไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้น  คลื่นสมองจะเปลี่ยนไปตามการทำงานของจิตใจ  หาสภาวะที่มนุษย์สับสนกระวนกระวาย  ไม่มีความสุข  จะทำให้คลื่นสมองสุง  และมื่อมนุษย์อยุ่ในสภาวะคลื่นสมองต่ำ  ด้วนการพัฒนาจิตใจสงบ  ซึ่งทำให้อารมณ์ดี  มีความคิดสร้างสรรค์  มีภูมิคุ้มกันในร่างกายสูง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

ในช่วงที่เด็กอนุบาลเข้าเรียนใหม่จะร้องให้ ควรให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมอยู่เฝ้าลูกหรือไม่ ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  การที่จะพัฒนาเด็กนั้นไม่ใช้ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนรับผิดชอบ  ควรที่จะร่วมมือกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน  แต่การมามีส่วนร่วมของผู้ปกครองก็ควรมีช่วงจังหวะที่เหมาะสมในการเข้ามา  เช่น  ในช่วงเปิดเรียนใหม่น้องอนุบาลก็จะร้องไห้ไม่อยากมาโรงเรียนหรือไม่อยากให้แม่กลับบ้านต้องการให้อยู่เฝ้า  ช่วงนี้บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองคือ  ส่งลูกๆ ให้กับคุณครูแล้วก็กลับบ้าน  ไม่ควรอยู่เฝ้าเพราะจะทำให้เด็กๆ ไม่ยอมเข้าไปหาเพื่อนหรือครู  จะส่งผลกับการปรับตัวของลูก  ยิ่งผู้ปกครองเฝ้าลูกนานเท่าไหร่  ลูกๆ ก็จะปรับตัวได้ช้าเท่านั้น  ดังนั้นผู้ปกครองควรไว้ใจและเชื่อใจคุณครู  เด็กอาจจะร้องให้ในช่วงแรก  แต่ไม่นานเด็กจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ กับครู  กับสถานที่ใหม่ได้เอง  โดยครูจะมีกิจกรรมและเทคนิคที่หลากหลายในการจูงใจให้เด็กๆ อยากมาโรงเรียน
          หลังจากที่เด็กๆ ปรับตัวได้แล้ว  ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  หรือได้มาเห็นสิ่งที่ครูได้ทำให้กับเด็กๆ เพื่อจะได้เข้าใจการพัฒนาเด็กๆ เข้าใจการศึกษามากยิ่งขึ้น  ตัวอย่างกิจกรรมที่ลำปลายมาศพัฒนาให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วม  เช่น  การรับ-ส่ง  ผู้ปกครองอาสา  ดำนา  เกี่ยวข้าว  กีฬาโรงเรียน  กิจกรรมไหว้ครู  กิจกรรมสืบสานประเพณีต่างๆ เข้าค่ายผู้ปกครอง  การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ของเด็กๆ  การเป็นวิทยากรให้ความรู้  รวมถึงการพัฒนาลูกๆ ที่บ้านด้วย ฯลฯ
           หากที่บ้านและโรงเรียนร่วมมือกันจะทำให้เด็กๆ ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ  และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อโลกต่อไปในอนาคต  เพราะเด็กๆ คืออนาคต  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และครู   คือผู้ที่ได้สัมผัสอนาคต  
                                 เด็กๆ คือเมล็ดพันธุ์ของวันพรุ่ง 

การแบ่งงานฝ่ายต่างๆ ของลำปลายมาศพัฒนา มีการจัดอย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  ที่ลำปลายมาศพัฒนาเราก็จะมีการแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ  คร่าวๆ ดังนี้
  1. ฝ่ายบริหาร  
  • ผู้อำนวยการโรงเรียน  
  • รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน 
    2.  ฝ่ายวิชาการ
  • หัวหน้างานวิชาการ  
  • หัวหน้าสายชั้นอนุบาล
  • หัวหน้าสายชั้นประถมฯ  ช่วงชั้น 1 
  • หัวหน้าสายชั้นประถมฯ  ช่วงชั้น 2
  • หัวหน้าสายชั้นอนุบาล
       ซึ่งแต่ละงานเราก็จะให้สิทธิในการบริหารจัดการกันเอง  เช่น  หัวหน้าสายชั้นอนุบาล  สายชั้นประถมฯ ช่วงชั้น 1 , 2  ก็จะมีงานต่างๆ อยู่ในสายชั้น  เช่น  งานประจำชั้น  งานธุรการ  งานพัสดุสื่อ  งานอนามัย  ฯลฯ 

    3.  ฝ่ายสนับสนุน
  • หัวหน้างานฝึกอบรมและเผยแพร่นวัตกรรม
  • หัวหน้างานธุรการ
  • หัวหน้างานสื่อและบรรยากาศ
  • หัวหน้างานผู้ปกครองและชุมชน
      ซึ่งแต่ละงานจะทำงานประสานกัน  โดยจะมีการประชุมพูดคุยกันทุกวันหลังจากเด็กๆ กลับบ้าน  เพื่อเล่าสิ่งที่ทำกับเด็ก  ครู  ผู้ปกครอง  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน  เล่าปัญหาที่พบ  และวางแผนการทำงานในวันต่อไป  การประชุมก็จะมีทั้งประชุมรวม  ประชุมหัวหน้างาน  ประชุมสายชั้น  ประชุมในชั้นเรียน  เป็นต้น  ในกาารประชุมทุกคนสามารถมีส่วนร่วมของกันและกัน  ต่อเติมงานของกันและกันได้  ซึ่งวัฒนธรรมของการประชุมของลำปลายมาศพัฒนาจะไม่มีประธานในที่ประชุม  ทุกคนสำคัญ  มีโอกาสได้แชร์สิ่งที่ทำให้เพื่อนๆ ได้รับทราบร่วมกัน

กิจกรรมหน้าเสาธงของลำปลายมาศพัฒนาทำอะไรบ้าง ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ   :  กิจกรรมหน้าเสาธงเราจะเริ่มประมาณ  08.00 น.  เด็กและครูจะมาพร้อมกันที่หน้าเสาธง  และในแต่ละวันจะหมุนเวียนให้ทุกชั้น  เด็กทุกคนได้มีโอกาสมาเชิญธงชาติ  จากนั้นเมื่อทุกคนพร้อมเราจะร้องเพลงชาติ  สวดมนต์แปล  ร้องเพลงแผ่เมตตา  เพื่อมอบความรัก  ความปรารถนาดีให้กับทุกสรรพสิ่ง  คุณครูที่เป็นคนนำกิจกรรมก็จะกล่าวขอบคุณและชื่นชมเด็กๆ  และเด็กๆ ก็ขอบคุณคุณครูเช่นกัน  จากนั้นเด็กและครูก็แยกย้ายตามชั้นเรียน  บางชั้นครูก็พาเด็กๆ เดินรอบๆ โรงเรียน  บางชั้นก็ไปห้องสมุดเลือกหนังสือที่อยากอ่าน  หรืออยากให้ครูอ่านให้ฟัง  บางชั้นก็เดินกำกับสติตามร้องเท้าที่วาดไว้บนพื้นทางเิดิน  บางชั้นก็เล่นเกม  ฯลฯ  
          จะมีเด็กบางคนที่มาโรงเรียนไม่สันทำกิจกรรมหน้าเสาธง  จะมีคุณครุเวรดูแลให้เด็กได้ผ่านวิถีชีวิตเมือนเพื่อนๆ คือร้องเพลงชาติ  สวดมนต์  ร้องเพลงแผ่เมตตา  และครูจะให้ทุกคนบอกสาเหตุของการมาไม่ทันเข้าแถว  และให้แต่ละคนคิดวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้มาทันทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน  จากนั้นครูก็จะสังเกตพฤติกรรมว่าวันต่อไปจะยังคงมาสายอีกหรือเปล่า  ถ้ากรณียังมาสายบ่อยๆ ครูจะทำงานร่วมมือกับผู้ปกครอง  สร้างความตระหนักและความเข้าใจให้กับผู้ปกครองในเรื่องของการให้เด็กมาโรงเรียนเช้าหรือมาให้ทันกิจกรรม  เพราะการมาัโรเรียนเช้าจะทำให้เด็กอารมณ์ดี  สดชื่น  รวมทั้งได้เล่นกับครู  เล่นกับเพื่อน  ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ร่วมกัน  จากนั้นก็จะส่งผลให้เด็กเรียนรุ้ได้อย่างมีความสุข  มากกว่าคนที่มาสาย

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระดับอนุบาลมีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ :  ระดับชั้นอนุบาลเป็นวัยที่สำคัญที่จะต้องได้รับการวางรากฐานของการเรียนรู้ทุกๆ ด้าน  ดังนั้นเราจึงมีการออกแบบกิจกรรมให้สอดรับกับการพัฒนาเด็กทั้ง 4  ด้าน  ดังนี้
กิจกรรม  4  หลัก
  1. กิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะ  เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก-ใหญ่  การพัฒนาด้านอารมณ์  สังคม  การจินตนาการ  สร้างสรรค์
    • วันจันทร์  นิทาน  ละคร  เพื่อปลูกฝังคุณธรรมหรือปรับพฤติกรรม

    • วันอังคาร  เคลื่อนไหวประเพลงการศึกษา  เพลงพื้นบ้าน
    • วันพุธ  กีฬา  เกม  การละเล่นพื้นบ้าน
    • วันพฤหัสบดี  เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์หรือคำบรรยาย
    • วันศุกร์  เปิดมุมน้ำ  มุมทราย  เด็กๆ ได้ตักตวง  ได้เล่นกับฟองสบู่  ได้เป่า  ทวันนี้ทุกคนจะมีเสื้อผ้ามาเปลี่ยนเพื่อเล่นน้ำกัน

         2.  กิจกรรมจิตศึกษากับการพัฒนาคลื่นสมอง  เพื่อปลูกฝังสิ่งดีงามในตัวเด็ก  สร้างสมาธิเพื่อให้พร้อมที่จะเีรียนรู้  เด็กวัยอนุบาลไม่เหมาะที่จะฝึกสมาธิผ่านการนั่งสมาธิ  เพราะขัดกับธรรมชาติของวัยและเด็กยังไม่มีความเข้าในกับคำว่าสมาธิ  เขารู้แต่ว่าครูให้นั่งนิ่งๆ นานๆ จะทำให้เ็ด็กเกิดความกดดัน  เครียด  ส่งผลก่อให้เกิดการเรียนรู้ช้าหรือปิดกันการเรียนรู้ได้  วิธีที่หมาะกับเด็กในวัยนี้ที่เราใช้คือ
      •  ผ่านโยคะ  การแปลงร่างเป็นท่าต่างๆ เริ่มจากท่ายืน  นั่ง  แล้วจบด้วยท่านนอน  เคล็ดลับของการทำโยคะคือ  การหายใจ  เป็นการทำงานประสานกันทั้งกาย  ใจ  และจิตวิญญาณ
      • ผ่านการกำกับสติ  เช่น  การส่งน้ำ  การส่งเทียน  การปั้นดินน้ำมัน  การวาดภาพ  การฉีกกระดาษ 
      • การร้อยลูกปัด  การต่อเม็ดมะค่า  ฯลฯ
      • ผ่านการทำ  Brain Gym  การพัฒนาสมองทั้งสองซึก (ซ้ายและขวา)
      • ผ่านเกมต่างๆ 
      • ผ่านนิทาน  เรื่องเล่า  ประสบการณ์
      • ฯลฯ
                      อะไรก็ตามที่เด็กทำแล้วจดจ่อกับสิ่งที่ทำนั้นคือ  สมาธิ

           3.  กิจกรรมพัฒนาสติปัญญา  (การเรียนบูรณาการโดยโครงงาน  Project Based)  เด็กๆ จะได้เรียนในสิ่งที่เขาได้เลือก  โดยแต่ละหน่วยเราจะใช้เวลาเรียน  10  สัปดาห์  กระบวนการจะเหมือนกันทุกชั้นในโรงเรียน  เริ่มตั้งแต่การบุรณาการทุกอย่างไว้ด้วยกัน  เด็กได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง  ครูกระตุ้นให้เด็กได้คิดในทุกๆ กิจกรรม  และเป้าหมายสุงสุดเพื่อให้เด็กๆ ได้เข้าใจอะไรบางอย่างที่เขาอยากที่จะเรียนรู้
          4.  กิจกรรมพัฒนาการคิดและจินตนาการ  เช่น  การเล่นตามมุมเสริมประสบการณ์  การเล่นกลางแ้จ้ง  การเส่นสร้างสรรค์  เสรี  การเล่นเครื่องเล่น  เกมการละเล่นต่างๆ เป็นต้น


                หลายท่านคงจะสงสัย  เพราะกิจกรรมอนุบาลในโรงเรียนส่วนใหญ่จะมี  6  หลัก  แล้วทำไมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงมีแค่  4  หลัก  ที่จริงแล้วถ้าท่านทบทวนกิจกรรมของเราดีๆ จะเห็นว่ากิจกรรม  6  หลักไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่เราเอามารวมกันแล้วแบ่งออกใหม่ให้เหลือแค่  4  หลักเท่านั้นเอง  จริงๆ แล้วกิจกรรมหลักจะมีกี่กิจกรรมไม่ได้สำคัญเท่ากับเด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและครบในทุกๆ ด้านหรือเปล่า  นี้ต่างหากคือสิ่งที่สำคัญกว่าสิ่งอืื่นใด

      ครูใหญ่ตอบเพิ่มเติม  :  สำหรับเด็กเล็กการนั่งสมาธิอาจจะเป็นโทษต่อร่างกายมากกว่าเป็นคุณ  เพราะธรรมชาติของเด็กเล็กมีความกระตือรือร้นที่อยากรุ้อยากเห็น  ไม่หยุดนิ่ง  การที่บังคับให้เด็กนั่งนิ่งๆ หลับตาเขาจะรู้สึกกดดัน  ระแวง  อึดอัด  ส่งผลให้สมองหลั่งสาร  Cortisol  เป็นสารแห่งความเครียด  ซึ่งจะทำให้ปิดกั้นการเรียนรุ้และส่งผลให้ใยสมองไม่เจริญเติบโต
                ธรรมชาติของเด็กมักส่งเสียงดัง  ซึ่งเป็นผลดีต่อปอด  อัตตาของตน  การทำให้เด็กนิ่งสงบอยุ่นานๆ อาจเป็นผลดีต่อการสร้างวิันัย  แต่ไม่เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตทางจิตใจ  วันหนึ่งๆ ควรให้เด็กสงบช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  เพื่อให้เขาได้สังเกตความรู้สึกจากภายใน  นอกจากนั้นก็ควรให้เขาได้ตะโกนส่งเสียงดัง
                การฝึกสมาธิผ่านกิจกรรม  กำกับสติ  จึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็ก  เพราะเป็นสิ่งที่เขาสนใจใคร่รู้  ได้เคลื่อนไหว  ได้จดจ่อเพราะความรู้สึกอยากจดจ่อจริงๆ 


      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      อนุบาลที่เข้ามาใหม่ๆ หรือเด็กเล็ก มีวิธีการปลูกฝักวินัยหรือคุณธรรมอย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

      ตอบ  :  การที่เราจะสร้างหรือปลูกฝังวินัยให้กับเด็กนั้นการที่ครูนั่งบอกให้เด็กเป็นคนดี  มีวินัยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน  และเด็กจะไม่ค่อยซึมซับ  หากเราให้เด็กเรียนรู้ผ่านการทำ  ผ่านวิถีชีวิตที่ดีงาม  สิ่งนี้จะยั่งยืนและเป็นการปลูกฝังคุณธรรมเชิงลึกด้วย  วิธีการที่ลำปลายมาศพัฒนาทำนั้นมีหลากหลายวิธี  เช่น
      • การออกแบบกิจกรรมให้เป็นวิถีชีวิต  เด็กมาโรงเรียนตั้งแต่เช้า  มาเจอคุณครูที่เป็นกัลยาณมิตร  ไ้เล่นกับเพื่อนๆ ได้ทำกิจกรรมหน้าเสาธงร่วมกันแบบสั้นๆ แต่ได้ความรู้สึก  ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  ทำสม่ำเสมอ  ต่อเนื่อง  เด็กสามารถคาดคะเนได้ว่าจะเกิดกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละช่วงของวัน 
      • เข้าสู้การเตรียมกาย  เตรียมใจ  ก่อนการเรียนผ่านกิจกรรมจิตศึกษา หลังจากเด็กดื่มน้ำเข้าห้องน้ำแล้ว  เด็กจะนอนเป็นปลาดาว  (ท่าศพอาสนะ)  ที่บ้านของต้วเอง  ครูเปิดเพลงบรรเลงพัฒนาคลื่นสมองเบาๆ จากนั้นครูก็ใส่ข้อมูลเชิงบวก  เช่น  เด็กๆ บอกตัวเองว่าเราเป็นคนที่น่ารัก  เป็นคนยอดเยี่ยม  บอกว่าเรารักตัวเราเอง  รักทุกคน  และทุกคนก็รักเราเช่นกัน  ฯลฯ  เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เด็กผ่อนคลาย  จิตใต้สำนึกเปิด  ครูต้องการให้เด็กเป็นอย่างไรเราก็พูดใส่ข้อมูลสิ่งนั้นเข้าไป  แ้ล้วสิ่งที่ครูพูดมันจะลงไปสู่จิตใต้สำนึกของเด็ก  ทำทุกๆ วัน  สุดท้ายของกิจกรรมคือการกอดให้ความรัก  การยอมรับในตัวของกันและกัน  ซึ่งกิจกรรมในช่วงจิตศึกษาจะมีเยอะมากขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมของครูแต่ละชั้น
      • เราจะฝึกเด็กเล็ก  เรียกทุกอย่างว่าพี่  เช่น  พี่ต้นไม้  พี่แก้วน้ำ  พี่กระดาษ  พี่กระเป๋า  พี่ร้องเท้า  ฯลฯ  อาจจะสงสัยว่าทำไม  เป็นการฝึกให้เด็กเคารพในทุกสรรพสิ่ง  เห็นคุณค่า  เห็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง  หากเราเคารพในกันและกันแล้วเราจะไม่ไปกระทำหรือทำร้านสิ่งนั้น
      • ครูและเด็กๆ เวลาเอ่ยชื่อกันเราจะใช้ชื่อเล่น  และคุณครูจะเรียกเด็กตั้งแต่อนุบาล 2 - ป.6  ว่าพี่แล้วตามด้วยชื่อเล่นของเขา  เช่น  พี่บีม  พี่ต่อ  เด็กๆ ก็จะเรียกคุณครูชื่อเล่นเช่นกัน  เช่น  ครูต๋อย  ครูยิ้ม  เป็นต้น  จะมีน้องแค่ชั้นเดียวคือน้องอนุบาล 1
      • พิธีชา  ในช่วงบ่ายก่อนกลับบ้าน  เด็กๆ จะผ่านพิธีช้าคือการได้ใคร่ครวญตัวเอง  ได้หยุดดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย  การรับรู้กับปัจจุบันทั้งกายและใจ  การเห็นคุณค่าของสพรรสิ่ง  เช่น  เด็กๆ ดื่มนม  สัมผัสถึงรสชาติของนม  นึกถึงสิ่งที่มีคุณค่า  ขอบคุณสิ่งเหล่านั้นเช่น  ขอบคุณปม่วัว  ของคุณต้นหญ้า  ของคุณสายน้ำ  ของคุณดิน  ขอบคุณอากาศ  ของคุณทกสรรพสิ่ง  เป็นต้น
      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      วิชาจิตศึกษา ที่ลำปลายมาศพัฒนามีวิธีการเรียนการสอนอย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

      ตอบ  :  จิตศึกษาเป็นวิชาที่มุ่งพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ  (Spiritual Quotient)  เน้นการเชื่อมโยงศาสตร์ต่า่งๆ เพื่อเรียนรุ้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างอ้อนน้อม  อ่อนโยน
                  เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมเป็นหนึ่งเดียว  อย่างมีความสัีมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ  ไม่แบ่งแยก  ไม่ตัดสินถูก-ผิด  ขาว-ดำ
                 มีความรักความเมตตาอันอยิ่งใหญ่  มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมและการเข้าถึงแก่นแท้ของชีวิต  และความหมายของการมีชีวิตอยู่
                ตัวอย่างกิจกรรม / ศาสตร์  (เนื้อหา)
      • เด็กๆ ได้เรียนรู้จักรวาลวิทยา  เพื่อให้เห็นและตระหนักรู้ว่าตัวเองเล็กนิดเดียว  โลกเราเล็กนิดเดียว  ตัวอย่างกิจกรรม  ดูดาว  ดูพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก  สารคดีการกำเนิดมนุษย์  หรือการเกิดโลก  และจักรวาล  เรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาิต  เป็นต้น
      • เด็กๆ จะได้เรียนรุ้และสัมผัสนิเวศแนวลึก  เพื่อตระหนักว่าจักรวาลหรือโลก  คือศูนย์กลาง  ไม่ใช่มนุษย์  สิ่งต่างๆ มีคุณค่าในตัว  ไม่ได้มีคณค่าเพราะเป็นประโยชน์กับมนุษย์  ตัวอย่างกิจกรรม  การดูนก  หรือสังเกตพฤติกรรมพืช-สัตว์  การจัดการของเสียให้มีคุณค่า  การมองหาคุณค่าจากสิ่งไม่มีคุณค่า  ฯลฯ
      • เด็กๆ จะได้สัมผัสกิจกรรมทางศาสนา  พิธีกรรมบางอย่าง  กิจกรรมสวดมนต์  การภาวนาฝึกจิตภาวนาแบบทอเลน  การสร้างศัรทธาต่อชีวิตหรือบางสิ่งบางอย่างที่มีความหมายต่อตน  การฝึกให้เกิดปัญญา  สมาธิ  ความเพียร  สติ  ผ่านกิจกรรมกำกับสติ  โยคะ  รำกระบอง  ไท้เก๊ก
      • ด็กๆ จะได้ปฏิบัติงาน  ศิลปะ  ดนตรี  หรือการละคร  เพื่อการเข้าถึงความรู้สึกอันละเอียดอ่อนด้านในของมนุษย์
      • เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางสังคม  จิตอาสา  และการบำเพ็ญประโยชน์
      • เด็กๆ ได้ฝึกกิจกรรมเพื่อการรับรู้และเรียนรุ้แบบไดอะล็อค  การสนทนาที่เน้นการฟังอย่างมีคุณภาพ  ไม่ตัดสิน  เพื่อให้เกิดสติและปัญญาร่วม
      • เด็กๆ ไ้ด้มีโอกาสทำกิจกรรมการปลีกวิเวก  ไกลจากผู้คนใกล้ชิดธรรมชาติ  สงัด  สงบ  ลำพัง  เช่น  การเข้าค่ายอนุรักษ์
      • การให้เด็กๆ ได้ผ่านการทำโปรแกรมจิต  ซึ่งเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีไว้ในจิตใต้สำนึก  โดยกำหนดวิถีชีวิตที่เรียบง่ายงดงาม  เด็กๆ คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้  และได้ทำแย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  สอดแทรกคุณค่าอันดีงามผ่านกิจกรรมเปิดจิตใต้สำนึก
      • เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมของหลักสูตรซ่อน  ซึ่งไม่มีการกำหนดเป้าหมาย  เวลา  เครื่องมือ  หรือการวัดผลใดๆ ไว้เลย  เช่น  การเล่นอิสระ
      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา่  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง  
      หรือดูคริปกิจกรรมได้ที่  www.lpmp.org

      ลำปลายมาศพัฒนามีแนวคิดในการจัดตารางเรียนอย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


      ตอบ :  ขั้นแรกครูต้องเข้าใจการทำงานหรือการเรียนรู้ของสมองในแต่ละช่วงก่อนว่าช่วงเช้าเป็นสมองส่วนใด  สายมาหน่อยเป็นส่วนไหน  และบ่ายเป็นส่วนไหน  ถ้าครูเขัาใจในสิ่งนี้แล้วจะทำให้การออกแบบวิถีชีวิตสอดรับกับการเรียนรู้  และที่ลำปลายมาศพัฒนามีการออกแบบตารางเรียนดังนี้  
      วิถีชีวิตของลำปลายมาศพัฒนา


      ภาคเช้า  เราพัฒนาสองด้านคือ 
      1. ความฉลาดทางด้านอารมณ์  (EQ :  Emotional Quotient) 
      • ความตระหนักรู้ตนเอง  รู้จักตนเอง
      • การจัดการกับอารมณ์  รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง
      • การจุงใจตนเอง  มองโลกในแง่ดี
      • การเห็นอกเห็นใจ  เอาใจเขามาใส่ใจเรา
      • ทักษะทางสังคม  ละเอียดอ่อน  ปรับตัวเข้ากับสังคมได้
      ความฉลาดทางด้านอารมณ์เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม
         2.  ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ  (SQ  :  Spiritual  Quotient)
              เป็นการแสวงหาความหมายของชีวิต  มีจุดหมายในแง่บวก  มีความรู้สึกยิ่งใหญ่  รัก  เคารพ  ผูกพัน  และห่วงใยชีวิตอื่นๆ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล  เขาใจความหมายของการมีชีวิตอยู่  มองเห็นความงามของสพรรสิ่ง
      ตัวอย่างกิจกรรม  เช่น  การได้เล่นกับเพื่อนๆ ใต้ต้นไม้  การมีปฏิสัมพันธ์กับครูที่เป็นกัลยาณมิตร  การได้รับความรักการโอบกอดจากสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย  การทำกิจกรรมจิตศึกษา
      ภาคสาย  เราพัฒนาความฉลาดทางด้านการคิด  (IQ  :  Intellectual Quotient)
                   แต่ก่อนเราอาจจะใไ้ความสำคัญกับ  IQ  (Intekegent Quotient)ที่หมายถึง เชาว์ปัญญา  ที่จริงด้านเช้าว์ปัญญาเราพัฒนาให้มีค่ามากขึ้นได้น้อยมาก ตั้งแต่เกิดจนตายบางคนพัฒนาขึ้นน้อยมาก  หรือบางคนน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น  แต่ความฉลาดทางด้านการึิด  เราสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้  เช่น  ความสามารถคิดอย่างมีเหตุผล  คิดอย่างเป็นนามธรรม  ความสามารถคิดตีความสิ่งต่างๆ  เป็นต้น
      ตัวอย่างกิจกรรม  เช่น  การลงมือปฏิบัติ  การใช้จินตนาการและความคิดอันชาญฉลาดเพื่อเรียนรู้สิ่งพื้นฐานที่จำเป็น
      ภาคบ่าย  เราพัฒนาความฉลาดทางด้านร่างกาย  (PQ  :  Physical Quotient)
                   ความฉลาดทางด้านร่างกายเป็นพื้นฐานของมนุษย์  ความฉลาดสูงสุดในด้านนี้คือ  การที่มนุษย์สามารถรักษาร่างกายให้สมดุล  ใช้ร่างกายในการดำเนินชีวิตไปอย่างปกติราบรื่นได้  ทำงานสอดประสานกับอวัยวะต่างๆ กับสมองได้อย่างสมบูรณ์  สามารถดูแลบำรุงร่างกายเพื่อให้ดำเนินชีวิตอยุ่ได้อย่างปกติสุข  ถึงแม้จะเกิดมาพร้อมกับความพิการ  แต่ถ้ามีความฉลาดทางด้านร่างกายจะสามารถใช้ร่างกายเท่าที่มีดำเนินชีวิตได้ด้วยดี
      ปรัชญาสูงสุดของโรงเรียนลำลปายมาศพัฒนาคือ  "การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์"  นั้นคือการพัฒนาทั้ง  4  ด้านที่กล่าวมาข้างตน

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      ถ้านักเรียนทำสิ่งของในโรงเรียนเสียหาย มีวิธีการจัดการอย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

      ตอบ :  ถ้าเด็กทำสิ่งของเสียหายที่ลำปลายมาศพัฒนาจะใช้วิธีคล้ายกับเวลาเด็กทะเลาะกันคือ  ถามคำถามแรกกับเด็กว่า  เกิดอะไรขึ้นช่วยเล่าให้ครูฟังหน่อย ?    แล้วคำถามที่สองคือ  จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?  มีครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุการณ์นักเรียนทำสิ่งของเสียหาย  แล้วเด็กบอกวิธีแก้ไขคือ  จะให้แม่ซื้อมาทดแทน  พอได้ยินคิตอบในกาารแก้ปัญหาของเขา  ครูก็ถามให้คิดทันทีว่า  "แม่ไม่ได้ทำผิดทำไมต้องลงโทษแม่ด้วย"  เด็กคนนั้นก็เงียบสักพักเหมือนกำลังคิด  เขาจึงถามคุณครูกลับว่า  "คุณครูมีอะไรพอที่จะให้ผมทำเพื่อเป็นการรับผิดชอบสิ่งที่เกิดบ้างไหมครับ"  จากนั้นครูก็ใ้ห้เด็กที่ทำของเสียหายไปถามเจ้าหน้าที่ธุรการว่าของสิ่งนั้นราคาเท่าไหร่  เมื่อรู้ราคาแล้ว  ครูก็แจ้งภาระที่ต้องทำอาจจะไปช่วยแม่ครัวล้างถาดอาหารที่นักเรียนทุกคนกิน  ช่วยคุณลุงปลูกต้นกล้วย  หวาดใบไม้  ขนเศษอาหารไปให้หมู  ครูคิดค่าแรงให้วันละ.........ช่วยครูคิดหน่อยจะต้องทำงานกี่วันจึงจะสามารถใช้หนี้หมด  เขาก็จะคิดแล้วก็เป็นคนไปทำ  โดยที่ครูไม่ต้องไปเฝ้าหรือตามไปดู  เพราะสิ่งที่ทำเกิดจากเขาอยากที่จะรับผิดชอบ
      ....ครูจะไม่ชี้ความผิดเด็กและไม่ตัิดสิน  แต่ต้องให้เกิดจากการรู้ของเด็ก  สิ่งนี้จะกระทบและมีผลกับการเปลี่ยนแปลงด้สนในของเด็กมากกว่า...

      วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

      จากที่ได้สังเกตการจัดการเรียนการสอนของลำปลายมาศพัฒนา สังเกตเห็นว่านักเรียนมีความมั่นใจและกล้าพูด กล้าแสดงออกมาก โรงเรียนมีวิธีสร้างให้เด็กมีคุณลักษณะอย่างนี้ได้อย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


      ตอบ  :  การที่คนคนๆ หนึ่งจะเกิดความมั่นใจ  กล้าแสดงออก  ไม่ใช้ว่าจะเกิดจากตัวเด็กเอง  แต่เกิดจากบุคคลรอบข้างทำให้เป็น  ถ้าเราให้โอกาส  ให้การยอมรับ  ไว้ใจและเชื่อใจเขาจะทำให้เด็กมั่นใจและกล้าที่จะแสดงออก  ซึ่งที่ลำปลายมาศพัฒนาทำหลายอย่างและทำอย่างต่อเนื่อง  เช่น 
      • หัวหน้าห้อง  ทุกชั้นเรียนจะไม่มีหัวหน้าห้อง  แต่เด็กทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้  และเป็นผู้ตามที่ดีได้ด้วย  ระดับอนุบาลครูจะไล่ตามวันที่  เช่น  วันที่  12  คนที่เลขที่  12  ก็จะได้เป็นผู้นำในการทำกิจกรรม  ได้แก่  ช่วยคุณครูแต่เพื่อนที่พร้อมเข้าห้องเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น  ถ้าเลขที่ของเด็กคนใดตรงกับวันหยุด  เป็นหน้าที่ครูที่จะต้องหากิจกรรมให้เลขที่ดังกล่าวได้เป็นผู้นำ  ส่วนพี่ประถมฯ  ครูจะเรียกว่ามอนิเตอร์  อาจจะเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลก็ได้  ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละชั้น
      • การชักธงชาติ  และเชิญธงชาติ  เด็กทุกคนในโรงเรียนต้องมีโอกาสได้ออกไปทำหน้าที่ดังกล่าว  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้นป.6  โดยเวียนกันไปในแต่ละวัน  ซึ่งกิจกรรมหน้าเสาธงของเราจะใช้เวลาสั้นๆ ประมาณห้านาที  ร้องเพลงชาติ  สวดมนต์แปล  ร้องเพลงแผ่เมตตา  จากนั้นครูก็กล่าวขอบคุณและชื่นชมนักเรียน  แล้วเชิญทุกคนแยกย้ายเข้าชั้นเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่อไป  ซึ่งกิจกรรมหน้าเสาธงเราจะไม่มีครูมาอบรมหน้าเสาธง  เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กไมพร้อมที่จะเรียนรู้ 

      • กลุ่มบริหาร  แต่ละชั้นจะมีการจัดกลุ่มบริการ  เพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้กับเื่พื่อนๆ เช่น  น้องอนุบาลจะมีกลุ่มบริการในการตักอาหารให้กับเพื่อนๆ กลุ่มบริการในการตากผ้าเช็ดตัว   กลุ่มบริการในการปูที่นอน  กลุ่มบริการในการแจกการบ้าน  แจอาหารว่าง  ไปรับนม  แจกนม  ฯลฯ
      • สภานักเรียน  นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.6  ทุกคนสามารถสมัครเป็นสมาชิกสภานักเรียนได้ทุกคน  ในแต่ละปีจะมีเด็กสมัครเกือบร้อยคน  และเราจะมีช่วงเวลาให้ทุกคนที่สมัครได้แถลงนโยบาย
      • กิจกรรมประชัดความสามารถด้านต่างๆ ในแต่ละเดือนลำปลายมาศพัฒนาจะจัดให้มีเวทีประชันความสามารถ  ใครอยากโชว์ด้านใดก็สามารถนำมาแสดงได้   เช่น  เล่นดนตรีสากล  ดนตรีไทย  ร้องเพลง  ประชันหมากลุก  ประชั้นศิลปะ  ประชั้นการวาดภาพ  การแต่งกลอน  ฯลฯ  เพราะการประชัดเราจะไม่มีการตัดสิน  แต่ทุกคนจะได้นำเสนอความสามารถ  แล้วทุกคนก็จะเกิดความภาคภูิมิใจ  กล้าที่แสดงออก
      • Show and Share  (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)  ทุกๆ สัปดาห์นักเรียนทุกชั้น  ทุกคนจะมีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองได้ไปศึกษาค้นคว้าร่วมกับผู้อื่น  แล้วสุดท้ายเด็กจะเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง 
      • อ่านหนังสือให้น้องฟัง  พี่ประถมจะหมุนเวียนกันไปอ่านนิทานให้น้องๆ อนุบาลฟัง  พี่ป.4-6  ก็ไปสอนน้องๆ ที่อ่านหนังสือช้า
      • สรุปงานสิ้นปี  ในแต่ละปีนักเรียนทุกชั้นจะสรุปสิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้รับทราบ  อาจจะสรุปออกมาในรูปของละคร  นิทาน  เพลง  การเต้น  โต้วาที  ฯลฯ
      • การสอน  เวลาที่ครูสอนแล้วถ้านักเรียนตอบผิดครูจะไม่ไปตัดสินว่าถูกหรือผิด  เช่น  เรียนคณิตศาสตร์  แม้ว่าครูจะรู้ว่านักเรียนตอบผิด  แต่ครูก็จะไม่บอกว่าผิดหรือถูก  ครูจะถามว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบนี้  จากนั้นครูก็จะใช้วิธีถามเพื่อนๆ  มีใครคิดแตกต่าง  หรือมีใครได้คำตอบแตกต่างจากนี้  พร้อมอธิบายวิธีคิด  แล้วครูก็จะถามเด็กที่ตอบผิดว่าเห็นด้วยกับคำตอบของเพื่อนหรือไม  สุดท้ายเด็กคนที่ตอบผิดจะรู้เองว่าคำตอบที่ถูกคืออะไร  และสามารถคิดหาคำตอบได้หลายวิธี  เด็กจะเกิดองค์ความรู้ด้วยตนอง  และอีกอย่างเด็กจะไม่รู้สึกอายหรือเสียหน้าเลยที่ตอบผิด
      • แนวทางการจัดการเรียนการสอน  แม้แต่การออกแบบการเรียนเราก็ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง  เด็กๆ มีส่วนร่วมในการเลือกหน่วยที่เขาอยากเรียน  มีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนในทุกกระบวนการ
      "ครูจะไม่เล่นบทพระเจ้า  ไม่ตัิดสินถูกผิด  แต่ครูจะต้องให้โอกาสเด็กทุกคนได้คิด  ได้อธิบายวิธีคิด"

      การนิเทศติดตามครูของลำปลายมาศพัฒนามีวิธีการอย่างไร ?

      (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 4)

      ตอบ :  การนิเทศติดตามครู  เราจะมีพี่ดูแลน้อง  และทีมดูแลทีม  
      • กรณีเป็นครูใหม่  (ครูทดลองงาน)  หมายความว่าครูใหม่ที่เข้ามาจะเป็นครูที่นี้ได้จะต้องพัฒนาอยู่  1  ปี ประเมิน  4  ครั้ง  โดยเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา  เช่น  ครูเก่าของเรานอกจากเป็นครูประจำชั้นสอนนักเรียนในชั้น  บริหารจัดการชั้นเรียนแล้ว  อีกหน้าที่หนึ่งคือต้องพัฒนาครูใหม่อีกคนที่อยู่ในชั้นเดียวกันด้วย  นอกจากครูประจำชั้นจะช่วยดูแลพัฒนาแล้วเรายังมีทีมหัวหน้างาน (ครูเก่า)  ช่วยกันกำกับดูแลพัฒนาอีกทางด้วย  ดังนั้นแต่ละครั้งที่มีการประเมินครู  ผู้ที่ถูกประเมินจะได้ประเมินตนเอง  ได้ถูกประเมิน  และทุกครั้งจะไ้ด้รับทราบในส่วนที่ตัวเองทำได้ดีแล้ว  และจะได้รับทราบในส่วนที่ต้องพัฒนาต่อด้วย  ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของพี่ๆ  ที่ต้องช่วยกันวางแผนช่วยเหลือพัฒนาครูใหม่ต่อไป
      • กรณีที่ผ่านการทดลองงาน  การนิเทศติดตามเราจะได้วิธีทำงานร่วมกันเป็นทีม  เพื่อให้เกิดการโยนิโส  น้อมนำมาสู่ตนเอง  เช่น  ถ้าในช่วงนี้เราจะนิเทศการสอนวิชาภาษาไทย  ทีมครูที่สอนภาษาไทยทุกระดับชั้นจะมาร่วมกันวางแผน  จัดทำแผนการสอนที่ยอดเยี่ยมที่สุดร่วมกัน  แล้วส่งคนใดคนหนึ่งเป็นตัวแทนในการสอน  ทุกคนก็จะไปสังเกตการสอน  หลังจากนั้นก็จะมาพูดคุยสิ่งสิ่งที่ได้พบเห็นโดยมีประเด็นหลักๆ ที่เราจะดูดังนี้  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อ  การมีส่วนร่วมของผู้เรียน  การจัดการชั้นเรียน  ความอยากง่ายของเนื้อหา  เราจะไม่ไปแตะตัวครูผู้สอนแต่เราจะร่วมพูดคุยถึงสิ่งที่เราร่วมกันวางแผน  จากนั้นครูแต่ละคนก็นำไปปรับใช้ในการสอนของชั้นตนเอง  ในรายวิชาอื่นๆ เราก็จะทำในลักษณะคล้ายๆ กัน
      • การตรวจแผนการสอน  ที่ลำปลายมาศพัฒนาครูไม่ได้ส่งแผนการสอนที่ผู้บริหาร  แต่เราใช้วิธีเปลี่ยนกันตรวจ  เปลี่ยนกันดู  เพราะขณะที่ครูได้อ่านแผนของกันอละกันนั้น  เขาได้เรียนรู้สิ่งที่ดีที่เขาสามารถนำไปปรับใช้กับชั้นเรียนของเขา  ได้ต่อเติดแผนให้เพื่อนๆ  ด้วยเช่นกัน  ส่วนผู้บริหารจะดูในภาพกว้างมากว่า  ดูกระบวนการ  อะไรที่ควรเพิ่มหรือลดเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อไป  
      • นอกเหนือจากเรื่องการเรียนการสอนแล้ว  เราจะพัฒนาครูในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นด้วย  เช่น  เพื่อนร่วมงาน  เด็ก  ผู้ปกครอง  ฯลฯ  แม้แต่แนวปฏิบัติอื่นๆ ก็จะมีพี่ๆ (ครูเก่า)ช่วยกันดูแล  เช่น  การมาทำงาน  ครูที่นี้มาทำงานกันแต่เช้า  มารับประทานอาหารเช้าร่วมกัน  พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน  เล่นกับเด็ก  พูดคุยกับผู้ปกครอง  ผู้บริหารไม่ต้องลงมาดูที่ลงเวลาว่ามีครูมาทำงานสายหรือเปล่า  เพราะเมื่อไหร่ที่มีคนมาทำงานสายจะมีพี่ๆ คอยดูแล
                             

                                          ปณิธานครูลำปลายมาศพัฒนา
      1. ย้อนคิดถึงวัยเด็กเราอยากได้ครูอย่างไร  เราก็ปฏิบัติอย่างนั้น
      2. รักเด็กทุกคนให้เกียรติ  หาข้อดี  และเสริมพลังให้เป็นคนดีมากที่สุด
      3. ไม่ยอมปล่อยให้เด็กในห้องล้มเหลวแม้แต่คนเดียว
      4. ไม่ยอมปล่อยให้เวลาสูญเปล่า  พัฒนาตนเองให้เป็นครูที่ดียิ่งขึ้น
      5. เป็นครูที่ดีไม่ได้เราจะไปทำอาชีพอื่น
                         "เราจะเน้นการประเมินเพื่อพัฒนา  เพราะเราเชื่อว่าทุกคนพัฒนาได้"

      การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมอันร่มรื่นของลำปลายมาศพัฒนาใครเป็นคนจัดการ ?

      (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 4)

      ครูใหญ่ตอบ  :  เราพยายามทำให้โรงเรียนเป็นที่ที่อยู่แล้วมีความสุข  อยู่แล้วสบายใจ  ดังนั้นหากเราต้องการสิ่งใดเราก็สร้างกันเอง  เราอยากได้โรงเรียนที่ร่มรื่น  เย็นสบาย เราก็ช่วยกันปลูกกต้นไม้เยอะๆ ไม้ตัดต้นไม้  อยากได้บรรยากาศแห่งความสุข  ก็สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความสุขร่วมกัน  ทำงานเป็นทีม  เอื้ออาทรกัน   ถ้าเรามัวแต่พร่ำบ่นว่าโรงเรียนเราร้อนจังเลยมาทำงานก็เจอแต่อากาศร้อนทุกวัน  แต่ไม่เคยคิดจะปลูกต้นไม้เลย  ถ้าไม่เริ่มทำที่เราแล้วจะรอให้ใครไปทำให้  
           อยากได้อย่างไร  พวกเราก็ช่วยกันทำ  ช่วยกันสร้าง

      โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีการบริหารจัดการอย่างไรจึงทำให้เกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข ?

      (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 4)

      ครูใหญ่ตอบ  :  การที่จะทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข  และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เราทำอยู่  3  อย่าง  ซึ่งสิ่งแรกที่เราให้ความสำคัญและต้องทำก่อนเป็นอับดับแรกคือ
      1. บรรยากาศการเรียนรู้  ก็ต้องชี้ชัดลงไปอีกว่าบรรยากาศแรกที่ต้องทำก่อนเลยคือ  
      • สัมพัธภาพของคน  ทำให้คนรักกันและรู้สึกดีต่อกันก่อน  ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็ก  ครู  ผู้ปกครอง  จากนั้นเรื่องของสภาพแวดล้อม  สื่อและแหล่งเรียนรู้จะตามมาเอง
          2.  การพัฒนาครูให้มีคุณภาพ  ทำอย่างไรจึงจะเป็นครูที่มีคุณภาพ  
      • วิสัยทัศน์  (เห็นร่วม  รู้สึกร่วม  รู้วิธี)
      • กรอบความคิดใหม่  (เชื่อว่าเป็นไปได้  เชื่อว่าทำได้)
      • ปลดปล่อยศักยภาพ
      • สร้างวัฒนธรรมองค์กร  (องค์กรเปิด  ทำงานเป็นทีม  ความเป็นกัลยาณมิตร  ความรับผิดชอบ)
         3.  การพัฒนาหลักสูตรและการสอน  การบูรณาการโดยโครงงานที่เน้นการคิด  มุ่งสู่ความเข้าใจอันลึกซึ่งบนฐานสมอง


      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

      เวลาเด็กทะเลาะหรือชกต่อยกัน ลำปลายมาศพัฒนามีวิธีการจัดการอย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

      ตอบ  :  ความขัดแย้งหรือการคิดเห็นที่แตกต่างมีแน่นอน  ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เด็กเรียนที่จะจัดระยะของตัวเองกับคนอื่น  รู้ที่จะปรับบทบาทตนเองในการอยู่ในสังคม  เหมือนกรณีล้างถั่วลิสง  เราเพียงใส่ตะกร้าเขย่าน้ำ  เปลือกถั่วที่กระทบกระทั่งกันจะทำให้เปลือกถั่วขาวสะอาดขึ้นมาเอง  บางครั้งการกระทบกระทั่งก็เป็นเรื่องของเด็ก  ถ้าผู้ใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้องจะกลายเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ทันที  และถ้าเกิดกรณีชกต่อยหรือทะเลาะวิวาทกันในโรงเรียน  ครูที่นี้จะมีแนวทางในการจัดการหรือปรับพฤติกรรมเป็นแนวทางเดียวกันคือ  ไม่ตัดสิน  ไม่ชี้ความผิดหรือไม่หาคนผิดคนถูก  แต่ครูจะใช้คำถาม 
                คำถามแรกคือ    "เกิดอะไรขึ้นช่วยเล่าให้ครูฟังที่ละคน"  แล้วเด็กแต่ละคนก็จะเล่า  ถ้ามีใครสักคนที่พูดไม่ตรงก็จะมีอีกคนแย้งขึ้นมา  สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่เด็กเขาเป็นคนบอกเองว่าเขาได้ทำผิดอะไร  พอครูรู้สาเหตุแล้ว  
                คำถามที่สองคือ  ในเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว  ช่วยครูคิดหน่อยว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง ?  เด็กก็จะต้องช่วยกันคิดอีก  ก็จะได้วิธีการหรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากเด็กเอง  สิ่งนี้คือสิ่งที่เด็กเป็นคนบอกว่าเขาจะรับผิดชอบอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น
                 จะเห็นว่าจาก  2  คำถามเด็กจะเป็นคนบอกเองว่าเขาทำผิดอะไร  และเป็นคนบอกเองว่าเขาจะรับผิดชอบหรือแก้ไขอย่างไร  ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เกิดจากตัวเด็กเอง  เขาเป็นคนรู้เอง  และคิดแก้ปัญหาเอง  ไม่ใช้ครูหรือคนอื่นเป็นคนชี้ความผิดและเป็นคนไปตัดสิ้นความผิดนั้น  ถ้าทำเช่นนั้นเด็กจะไม่เกิดความรู้สึกที่จะตระหนักเลย  เพราะไม่เกิดจากตัวเขาเองแต่เกิดจากคนอื่นบอก

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      ขณะที่ครูกำลังสอน มีนักเรียนเล่นกันหรือไม่สนใจเรียนจะมีวิธีการจัดการอย่างไร ?

      (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


      ตอบ  :  ถ้าขณะที่ครูกำลังสอน  แล้วมีเด็กบางคนกำลังเล่นกันไม่สนใจครู  ที่ลำปลายมาศพัฒนาครูจะไม่ไปดุเด็กที่เล่น  แต่ครูจะให้ความสนใจหรือให้กำลังใจเด็กที่น่ารักด้วยการเสริมแรงด้านบวก  เช่น  ขอบคุณคนที่นั่งข้างหน้าน่ารักมากเลยค่ะ  ขอบคุณพี่เจมส์ที่มองมาที่คุณครู  ขอบคุณพี่ปาล์มที่ตั้งใจฟัง  พอเราสังเกตเห็นว่าเด็กที่เล่นกลับมาสนใจที่ครูเราก็ชมเข้าทันที  เช่น  ขอบคุณพี่ลาร์คมากค่ะแม้จะนั่งอยู่ไกลแต่ก็ตั้งใจฟังคุณครู  จากนั้นครูก็สอนตามปกติ  หรือถ้าชมให้กำลังคนที่น่ารักแล้วเด็กที่เล่นก็ยังไม่สนใจ  ครูก็จะใช้วิธีให้เด็กที่เล่นมานั่งใกล้ๆ ครู  ที่นี้จะไม่มีการทำโทษด้วยการให้เด็กออกไปอยู่นอกห้องเรียน  หรือไปอยู่ตามมุม  ประจานให้เด็กรู้สึกอาย  หรือใช้คำพูดด้านลบ  แต่เราจะเน้นการเสริมแรงด้านบวก  ซึ่งเราจะใช้จิตวิทยาสำหรับมนุษย์ 

                เมื่อเรามองเด็กคือมนุษย์ที่มีคุณค่าคนหนึ่งสิ่งที่เราควรทำคือ
      ลดสิ่งเหล่านี้
      • ลดการเปรียบเทียบ  ไม่มีใครชอบการถูกเปรียบเทียบให้ตัวเองมีค่าด้อยค่ากว่าคนอื่น  การเปรียบเทียบจะทำให้บางคนเท่านั้นชนะ
      • คำพูดด้านลบ  คำด่า  คำปรามาส  คำสบประมาส  หรือแม้กระทั้งการตั้งฉายา  ล้วนแต่เป็นคำพูดด้านลบ  และเราเชื่อแน่ๆ ว่าไม่มีใครชอบ  เมื่อเด็กถูกด่า  "โง่เหมือนควายเลย"  คำๆ นี้จะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกเด็ก  และแสดงผลให้เขาขลาดกลัวที่จะคิดหรือทำสิ่งต่างๆ  ที่สำคัญสำคัญควายตัวนั้นติดตัวเขาไปตลอด  และจะโตไปพร้อมๆ กับเขาด้วย
      • หลอกให้กลัว  "อย่าไปนะเีดี๋ยวตำรวจจับ  อย่าไปนะเดี๋ยวผีหลอก  เดี๋ยวสอบตก  เดี๋ยวหักคะแนน"    การหลอกให้กลัวในวันนัื้นอาจหยุดพฤติกรรมดื้อรั้นของเด็กในทันที  แต่กลับทำให้เด็กรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผลในเวลาต่อมา 
      • ใช้ความรุนแรง  ไม่มีใครชอบให้คนอื่นมากระทำความรุ่นแรงกับตัวเอง  ปัญหาความขัดแย้ง  และความรุนแรงในโรงเรียนเกิดขึ้นแน่นอน  แต่อาจมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป  บางครั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็ช่วยให้เด็กๆ รู้ว่าจะวางระยะกับคนอื่นอย่างไร  เรียนรู้ที่จะปรับบทบาทของตัวเองในการเข้าสังคม  มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนขึ้น
      • ยัดเยียดความรู้  เด็กควรจะได้เรียนสิ่งที่มีความหมายกับตนเอง  มีความสำคัญและใีความจำเป็น  ไม่ใช่ได้เรียนในสิ่งที่คนอื่นยัดเยียดให้  ครูมีหน้าที่ทำให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ 
      •  
                เมื่อลดสิ่งต่างๆ แล้วควรสร้างสิ่งต่อไปนี้
      • สร้างบรรยากาศคลื่นสมองต่ำ
      • สร้างภาพพจน์ด้านบวก  ให้เด็กทุกคนได้รู้สึกว่าตัวเองได้รับความรัก  มีคุณค่าต่อคนอื่นหรือสิ่งอื่นๆ  มีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง  ชื่นชอบและภูมิใจในตนเอง   เพราะเมื่อรุ้สึกดีต่อตัวเอง  ก็จะรู้สึกดีต่อผู้อื่น  และรู้สึกดีต่อสรรพสิ่ง  เข้าจะกลายเป็นคนมีเสน่ห์  น่ารัก  และมความสุข
      • จูงใจไม่ใช่บังคับ  เด็กไม่อยากเรียนไม่ใช่ความผิดของเด็ก  แต่เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องทำให้เขาอยากเรียน  โดยการกระตุ้น  การสร้างแรงจูงใจและการสร้างความท้าทายที่เหมาะสม
      • ให้ความรัก  เด็กๆ นั้นไม่เข้าใจคำว่ารัก  แต่เขาสัมผัสความรู้สึกการได้รับความรักไ้ด้  โดยการตั้งใจฟัง  ยิ้มให้  พูดจานุ่มนวล  หรือสัมผัสโอบกอด
      • Empower  โดยการยิ้ม  ชม  และการแสดงความรัก  เช่น  การกอด  การแแตะสัมผัส  ฯลฯ

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      ลำปลายมาศพัฒนามีวิธีการสอนให้เด็กเกิดทักษะการคิดได้อย่างไร ?

      (สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีห่งประเทศไทย)

      ครูใหญ่ตอบ  :
      ระดับการคิดที่จำเป็น
      • ระดับสูงสุดการคิดเชิงอนาคต     คิดวิสัยทัศน์  
                                                        คิดโดยรู้ว่าคิดอะไร
      • ระดับสูงการคิดเชิง  Create       จินตนาการ  และคิดสร้างสรรค์
      • ระดับต้นการคิดเชิง  Logic        คิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  
                                                        คิดมโนทัศน์  และคิดวิจารณญาณ
        การสอนให้เด็กคิด
        • ถ้าเปรีบยการคิดเป็นเหมือนต้นไม้ที่งอกงามเติบโตสูงใหญ่ได้ด้วยเวลา  สารอาหารที่ได้รับ  เราจะเห็นว่าไม่มีต้นไม้ที่เติบดตลอยล่องอยู่ในอากาศ  รากของต้นไม้จะยึดอยู่กับดิน  หรือกับบางสิ่ง  เหมือนกับการคิดที่ต้องยึดโยงอยู่กับความรู้
                ความรุ้ยังเป็นทางผ่านของอาหารความคิด  ดังนั้นการสอนคิดครุต้องเกาะกุมเป้หมายของรายวิชาได้อย่างชัดเจนครอบคลุมเพื่อไม่ให้หลุดมาตรฐานหลักสูตรซึ่งเป็นที่ยึดรากของการคิดเอาไว้
        • ครูควรทำความเข้าใจพฤติกรรมสมองตามทฤษฎีของ  Bloom  ได้แก่  จำ  และคิด  (เข้าใจ  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ประเมินค่า  นำไปใช้  และคิดสร้างสรรค์)  แลแะควรทำคงามเข้าใจกับทฤษฎีของ  Gardner  เกี่ยวกับ   Multiple Intelligence
        • อยากให้เด็กคิดต้องใช้เครื่องมือคิดด้วย  ทั้งเครื่องมือสำหรับคิดเดี่ยว  เช่น  หมวกหกใบม  คำถามม  Mind mapping  และเครื่องมือสำหรับคิดเป็นกลุ่ม  เช่น  Jigsaw,  Round table,  Placemat  ฯลฯ
        • ให้เวลา  สมองต้องการเวลาสำหรับการคิดแต่ละอย่างไม่เท่ากัน
        • ครูสร้างบรรยากาศการคิด  โดยธรรมชาติในสมองมนุษย์จะมีสารเคมี  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มดี  Endorphin  และกลุ่มไม่ดี  Cortisol  ซึ่งเป็นสารที่หลั่งโดยสัญชาตญาณ  แต่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของใยประสาทและยับยั้งการคิด  ยับยั้งการส่งผ่านข้อมูล  ปิดการเรียนรู้  ยับยั้งเส้นทางความจำ  ภูมิต้านทานต่ำ  สมาธิสั้น  ครูควรพยายามไม่ให้สาร  Cortisol  ในสมองของเด็กหลั่ง  โดยสร้างบรรยากาศของการเท่าเทียม  ไม่ถูกมองว่าผลที่ออกมาคือถูกกับผิดเท่านั้น  ให้การเสริมแรงที่เหมาะสม  ให้เด็กทุกคนรู้สึกได้ว่าครูรัก  และปรารถนาดีต่อเขา
        • สร้างความท้าทายที่เหมาะสม  อาจจะกระตุ้นด้วยคำุถาม  (Key Question)  แบบต่างๆ เช่น  The what if,  The reverse,  The BAR  ฯลฯ
        • สร้างเวทีให้เด็กได้แสดงความคิด  (Show and Share)
         อ่านเพิ่มเติมได้ที่    หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

        นักเรียนได้คะแนน หรือตัดเกรดอย่างไรในเมื่อลำปลายมาศพัฒนาไม่มีการสอบ ?

        (ถามโดย ร.ร.บ้านคอนฉีม จ.ขอนแก่น)

        ครูใหญ่ตอบ  :  เราจะเน้นการประเมินเพื่อพัฒนามากกว่าประเมินเพื่อตัดสิน  เป็นหน้าที่ครูที่จะประเิมินผลรวม  เพื่อดูว่าผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  หรือมาตรฐาน  ตามหลักสูตรแกนกลางมากน้อยเพียงใด  ซึ่งจะใช้การประเมินตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย  (ยกเว้นการสอบ)  และประเมินไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ  โดยดูได้จากชิ้นงาน/ภาระงานที่นักเรียนทำ  เช่น  แฟ้มสะสมงาน  รายงานสรุปคความรู้  หรือคะแนนสะสมจากการประเมินแต่ละสัปดาห์หลังจากขั้นตอนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งครูได้วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้น
                  ขอบข่ายการประเมินผลแต่ละโครงงาน
             -  ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้  ทักษะกระบวนการคิด  ทักษะการทำงาน
             -  ความเข้าใจ  หรือ  สาระ  ความรู้
             -  ทัศนคติต่อการทำงาน  ความเพียร  ความอดทน  ความมุ่งมั่น  ฯลฯ

        ตัวอย่างชิ้นงาน

        Mind mapping ก่อนเรียน  หน่วยเสียดาย
        Mind mapping หลังเรียน  หน่วยเสียดาย

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

        การจัดการเรียนการสอนของลำปลายมาศพัฒนาจัดอย่างไร ?

        (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 4)

        ครูใหญ่ตอบ  : เรากำหนดแนวทางการเรียนการสอนให้สอดรับกับ  การเรียนรู้ของสมอง  (Brain Based Learning)  และจัดทำหลักสูตรของโรงเรียนให้เป็นหน่วยบูรณาการและร้อยเรียงองค์ความรู้โดยโครงงาน  Project Based   จากนั้นครูใส่การคิดเข้าไปในทุกๆ ชั่วโมงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแต่ละด้าน  และสูงสุดเราให้ความสำคัญกับการสอนเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น  (Teaching for Understanding)  โดยเฉพาะการออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ  (Backward design)
                  สาระที่เราแยกออกมาจากบูรณาการโดยโครงงานคือ  วิชาภาษาไทย  วิชาคณิตศาสตร์  และวิชาภาษาอังกฤษ  แต่ยังคงเป็นบูรณาการในสาระวิชา  ส่วนวิชาที่เหลืออยู่ในบูรณาการโดยโครงงานทั้งหมด



        อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

        วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

        วิธีการคัดเลือกครูของลำปลายมาศพัฒนา ได้มาอย่างไร ?

        (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 3)

        ครูใหญ่ตอบ  :  วิธีการได้ครูมาไม่อยาก  แต่อยากตรงที่จะพัฒนาเขาอย่างไรให้เป็นครูที่มีคุณภาพ  อันนี้อยากกว่า  สิ่งที่ต้องฝึกครูมากๆ คือเรื่องจิตวิทยาในการเตรียมเด็ก  เพราะครูคือศูนย์กลางการพัฒนา 

        การคัดเลือก  สัมภาษณ์ดูคุณลักษณะ  (Personality, Character)


        การพัฒนา
                  - วิสัยทัศน์    เห็นเป้าหมายสูงสุดขององค์กร  (ทำให้ครูเป็นเป้าหมายที่ลึกซึ่งร่วมกัน)  รู้สึกร่วมกับเป้าหมายนั้น  รู้วิธีทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                  - กรอบความคิด  (คิดบวก)  เชื่อก่อนว่าเป็นไปได้  
                  - ทำงานเต็มศักยภาพ  
                  - คิดแบบ  (I am O.K, You are O.K) 
                  - วัฒนธรรมองค์กร  สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีงามร่วมกัน  (องค์กรการเรียนรู้,  การทำงานเป็นทีม,  ความเป็นกัลยาณมิตร  ฯลฯ)
                  ต้องเริ่มจากวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลของหลายๆ คนรวมกัน
        ความต้องการของคนคนเดียวไม่พอ
        ความต้องการขององค์กรอย่างเดียวไม่พอ
        ทิศทางขององค์กรอย่างเดียวไม่พอ
                  องค์กรต้องนำพาทุกคนไปพร้อมกัน  ด้วยการสร้างเป้าหมายร่วมกัน.......

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือฅนบนต้นไม้  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง 
                 

        วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

        วิธีการคัดเลือกนักเรียนของลำปลายมาศพัฒนา ได้มาโดยวิธีใด ?

        (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 3)


        ครูใหญ่ตอบ  :    โรงเรียนเรามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแบบอย่างในทุกๆ ด้าน  เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับทุกองค์กรที่สนใจ  ดังนั้นเราพยายามสร้างปัจจัยทุกอย่างให้้เหมือนโรงเรียนทั่วไป  ปัจจัยใดบ้างที่เหมือนโรงเรียนทั่วไป  สิ่งแรกคือ นักเรียน  ทำอย่างไรจะให้ได้เด็กเหมือนโรงเรียนทั่วไปนั้นคือ  เราใช้วิธีจับฉลาก  เราได้เด็กที่คละความสามารถ  คละฐานะ  คละผู้ปกครอง  ส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน   ไม่มีพ่อแม่   อยู่กับตายาย  แม้แต่ปัจจัยในเรื่องของงบประมาณเราก็ทำให้ใกล้เคียงโรงเรียนของรัฐ  ดังนั้นเด็กนักเรียนที่นี้จึงไม่แตกต่างจากโรงเรียนในชนบท  แต่ทุกคนจะถูกกล่อมเกลาก้วยกระบวนการบางอย่างที่แตกต่าง  เพื่อพัฒนาเขาให้ได้มากกว่าเป้าหมายที่ตื่นเขิน

        วิถีีชีวิตของครูลำปลายมาศพัฒนาเป็นอย่างไรบ้าง ?

        (ถามดดย สพท.อุบลฯ เขต 3)

        ครูใหญ่ตอบ  :  หน้าที่ครูสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ  เล่นกับเด็ก  ถ้าครูไม่เล่นกับเด็กก็มีค่าแค่สองหมื่นเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง  ครูต้องเล่นกับเด็กเพราะคอมพิวเตอร์ทดแทนไม่ได้  ลองนึกดูเด็กอยู่กับพ่อแม่ก็ทำตัวอยู่เหนือเขา  ครอบงำเขาทุกอย่าง  พอมาอยู่กับครูเรายังจะทำอย่างนั้นกับเขาอีกเหรอ  ครูจึงมาแต่เช้า  เล่นกับเด็กคุยกับผู้ปกครอง  เข้าแถวสั้นๆ ห้านาที  จากนั้นก็สอนจนถึงเย็น  พอเด็กกลับหมดเราก็ประชุมกันต่อ  เสร็จแล้วเราก็เล่นกีฬาร่วมกัน  สัปดาห์หนึ่งเราเล่นกีฬาด้วยกันบ่อยมาก  แล้วจึงแยกย้ายกันกลับ  พอถึงห้องพักหรือบ้านพักบ้างคนก็ดูหนัง  เขียนบทความ  เตรียมการสอน  นอนพัก ฯลฯ  ตื่นเช้ามาก็มาเล่นกับเด็ก.........

        วิธีสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้ของลำปลายมาศพัฒนา สอนอย่างไร ?

        (ถามโดย สพท.อุบลฯ เขต 3)


        ครูใหญ่ตอบ  :  ลำปลายมาศพัฒนาไม่มีหนังสือเรียน  เราจะสอนเป็นหน่วย  แต่ละหน่วยจะมีวรรณกรรมร้อยเรียงเรื่องราว  เช่น  ความสุขของกระทิ  ขณะที่เด็กอ่านครูก็จะถอดหลักภาษา  จัดหมวดหมู่ให้เด็กได้ค้นหา  เช่น  Quarter 1 เด็กทุกชั้นจะเรียนผ่านนิทาน  .ในส่วนของ ป.1  จะเป็นนิทานสั้นๆ ครูเป็นคนเลือก  ข้อดีคือในวรรณกรรมจะมีอารมณ์ความรู้สึก  เวลาเด็กอ่านไปจะทำให้อยากอ่าน  มันไม่แห้งแล้ง  เรียนรู้ผ่านบทความ  เด็กที่นี้ทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้  นั้นเป็นพื้นฐาน วิธีจะช่วยเด็กให้อ่านออกเขียนได้จึงมีหลากหลายวิธี  เด็กที่อ่านช้า เขียนช้า  เราจะทำงานร่วมกับผู้ปกครอง  ถ้าจะให้บอกวิธีการสอนจะค่อนข้างยาวมาก  เป้าหมายไม่ใช้สอนอย่างไร  แต่เป้าหมายควรจะเป็นมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้เด็กอ่านออก  เขียนได้ต่างหาก

        วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

        ลูกเข้าเรียนชั้นอนุบาล ลูกไม่ได้เขียน ก-ฮ ตามเส้นประแล้วอย่างนี้ลูกจะเขียนหนังสือได้หรือคะ ?

        (ถามโดยผู้ปกครอง)

        ตอบ  :  การเรียนรู้ภาษาของเด็กก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่การใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามหลักภาษา  ควรเป็นการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ  เน้นสื่อที่มีความหมาย  ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้อย่างรวดเร็ว  การสอนจะไม่แยกส่วนย่อยของภาษาแต่ละส่วน  แต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน  แล้วจึงเรียนรูด้านโครงสร้างภาษาภายหลังโดยเริ่มตั้งแต่  1.ขั้นการรับรู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่ใกล้ตัว  เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิต  2.ขั้นสัญลักษ์  เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ที่แทนสิ่งต่าง ๆ 3.ขั้นเทียบเคียงภาษา  โดยเทียบเคียงทั้งเสียงและรูปคำ  4.ขั้นแตกแขนงทางภาษา  ในขั้นนี้เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้องค์ประกอบของคำว่าประกอบไปด้วยพยัญชนะ  สระ  ตัวสะกด  อื่นๆ หรือแต่งเป็นประโยคง่ายๆ ซึ่ิงเด็กจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย  เช่น  สื่อของจริง  ภาพเหมือนสัญลักษ์ต่าง ๆ ละคร  บทบาทสมมุติ  วรรณกรรม  เป็นต้น  

        ตัวอย่าง
                         นักเรียนชั้นอนุบาล 1  เรียนเกี่ยวกับตัวเรา  ครูก็สอนเป็นคำเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ เด็กก็จะได้เรียนรู้ผ่านภาพสัญลักษณ์  และคำ  แม้เด็กจะไม่สามารถแยกองค์ประกอบของคำได้ว่าประกอบไปด้วยพยัญชนะตัวใดบ้าง  แต่เด็กจะเกิดความเข้าใจ  และเชื่อมโยงคำต่างๆ กับชีวิตได้ 
        การเรียนรู้ภาษาขั้นสัญลักษณ์
        ชิ้นงานที่เด็กทำสื่อความเข้าใจออกมาเป็นภาพสัญลักษณ์แทนตัวหนังสือ

        นักเรียนที่ลำปลายมาศพัฒนาเรียนโดยไม่ใช้แบบเรียน แล้วความรู้ของเด็กจะได้มาอย่างไร ?

        (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

        ตอบ แบบเรียนเป็นเพียงที่เก็บความรู้  ผ่านไปไม่กี่วันมันกลายเป็นความรู้เก่า  ครูควรสนใจพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตมากกว่า  ได้แก่  ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้และทักษะการคิด  ในที่สุดผูู้เรียนจะเป็นคนแสวงหาความรู้ที่จำเป็นและมีความหมายต่อเขาด้วยตัวเอง

        อ่านเพิ่มเติมได้ที  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

        ถ้าเด็กทำงานส่งแล้วครูไม่ตรวจให้คะแนน จะรู้ได้อย่างไรว่าเขาถูกหรือผิด ?

        (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)




        ตอบ  :  สิ่งที่ผู้เรียนทุกคนทำออกมาล้วนแต่มีคุณค่า  ครูไม่ควรตีตราด่้วยดาวหรือคะแนน  ครูมีหน้าที่รู้ให้ได้ว่าเด็กแต่ละคนควรพัฒนาตรงไหน  และหาวิธีที่จะพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพของแต่ละคน  หัวใจอันแท้จริงของการวัดผลประเมินผลนั้น  เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนแต่ละคน  การวัดผลตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือที่หลากหลายจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

        อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสืออธิฐานสิจ๊ะกับนางฟ้ามีเขียว  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

        เรียนอย่างลำปลายมาศพัฒนาแล้วเด็กจะมีความรู้เหรอ?

         (ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


        ตอบ  : เราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างมีความสุขมากกว่าตัวความรู้   ให้เด็กได้เกิดทักษะกระบวนการคิดและกระบวนการแสวงหาความรู้ผ่านสิ่งที่เด็กๆ สนใจไม่ใช่ผ่านตำราเรียน  เพราะว่าในอนาคตจะมีความรู้เกิดใหม่มากมายมหาศาล  เด็กควรจะได้เครื่องมือเพื่อการแสวงหาความรู้ที่สดใหม่  และตรงกับที่ต้องใช้จริงๆ
         หาคำตอบเพิ่มเติมได้ที่
         http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com/