วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิควิธีการของผู้สอนให้เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้ ?

(ถามโดย :  ครูโรงเรียนหนองยายหมาด จ.ชลบุรี)


ครูใหญ่ตอบ  :  วิชาจิตศึกษาที่เราพัฒนาขึ้น  ไม่ใช่แค่คลื่นสมอง  เป็นการเรียนรู้ที่อยู่กับธรรมชาติอย่างอ่อนน้อม  ทำไมเราสอนเด็กอนุบาลเรียกทุกสิ่งทุกอย่างว่าพี่  พี่ต้นไม้  พี่ใบไม้  พี่แก้วน้ำ  พี่ของว่าง  เรากินพี่ของว่างของว่างเป็นเรา  เราเป็นพี่ของว่าง  มันเชื่อมโยงกัน  อยู่อย่างนอบน้อม  เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม  นี้เกิดขึ้นจริงในโรงเรียน  ผมเดินคุยกับเด็ก ป.1 กำลังกินข้าววันนั้นกินต้มยำไก่และผัดบวบใส่ไข่  ผมบอกวันนี้โชคดีมากเด็กได้กินอาหารจากทะเล  เด็กๆ เขี่ยกันใหญ่เพื่อดูว่าอะไรมาจากทะเล  โชคดีมากมีเด็กคนหนึ่งตอบได้น้ำแกงมาจากทะเล  น้ำทะเลกลายเป็นไอจับกันเป็นเมฆ  เมฆลอยมาแล้วตกเป็นฝนลงในแม่น้ำไหลมา  ป้าก็เอาน้ำมาทำเป็นน้ำแกง  เป็นการเห็นความสำพันธ์  ทำให้ตัวตนเล็กลง  ตระหนักและรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยไม่มีอคติ  ทำไมเราไม่เปรียบเทียบคนสองคน  เราระวังมากไม่เปรียบเทียบคนสองคน  เพราะนั้นเราใช้เกณฑ์เราวัดว่าสิ่งนั้นดีไม่ดี  แต่ก็มีวิธีสอนให้เขารู้จักด้วยตัวเองว่าอะไรควรไม่ควร  มีความรักอันยิ่งใหญ่  มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม  ทำไมไม่เห็นเด็กเราเตะต้นกล้วย  ขีดเขียนผนัง  เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิตและความหมายของการมีชีวิตอยู่อันนี้คือสูงสุดที่เราอยากได้  ถ้าคนเข้าใจว่ามีชีวิตอยู่ทำไมจะตายตอนไหนคนจะไม่ทำลายสิ่งอื่นรอบตัว  จิตศึกษาก็จะประกอบไปด้วยจักรวาลวิทยา  ความรู้เกี่ยวกับจักรวาล  การกำเนิดโลกการกำเนิดชีวิตต่างๆ ตัวหนอน  กิ้งกือ  นิเวศน์แนวลึกศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ลึกๆ   ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่มองไม่เห็นระหว่างผมกับอาจารย์มีสิ่งที่ดึงดูด  มีสิ่งที่มีพลัง  มีสิ่งที่ซ้อนอยู่แต่มีความหมาย  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าแต่มองไม่เห็นที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผมกับอาจารย์  เป็นคุณค่าทางจิตใจที่มองไม่เห็นแต่มีจริง  พิธีกรรมบางอย่าง  พิธีกรรมทางศาสนาก็ช่วยได้  สติ  คลื่นสมองจะมาตรงนี้แล้ว  ทำยังไงจะทำให้เด็กมีสติ  รอยเท้าทำไมเต็มไปหมดเลย  เด็กเห็นรอยเท้าก็จะรู้สึกกระวนกระวาย  ชั่วระยะหนึ่งจะทำให้เกิดการคงสมาธิ  ปัญหาของเด็กตอนนี้ส่วนหนึ่งคือมีสิ่งเร้ารอบตัวที่น่าสนใจเยอะเกินไปทำให้เขาจดจ่อได้ไม่นาน  การจะนั่งอ่านหนังสือนิ่งๆ ได้ไม่นานเพราะในทีวีมีภาพที่น่าสนใจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา  ในคอมพิวเตอร์มีทุกสิ่งทุกอย่าที่ค้นหาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา  สิ่งสนใจเยอะมากภาวการณ์จดจ่อหรือการคงสมาธิสั้น  จะมีปัญหาต่อการเรียนรู้เพราะความเข้าใจลึกๆ จะต้องอาศัยการจดจ่อ  เราคิดบางอย่างใคร่ครวญบางอย่างระยะเวลาหนึ่งแล้วเราจะเข้าใจมัน  แต่คิดแป๊บเดียวเราจะไม่เกิดการใคร่ครวญอย่างแท้จริง  ดนตรีศิลปะการละคร  กิจกรรมทางสังคม  จิตอาสา  ไดอะล็อก  เรื่องนี้เป็นศาสตร์หนึ่ง  ของไทยเรามาแปลเป็นสุนทรียะสนทนา  ก็เป็นศาสตร์การสนทนากันที่เน้นการฟังอย่างมีคุณภาพ  พูดง่ายแต่ทำยากแต่ถ้าทำแล้วทำได้เลย  ปลีกวิเวกบางทีเราให้เด็กได้อยู่เพียงลำพัง  เพราะการอยู่ลำพังมีผลต่อการต่อฟอร์มรูปจิต  โปรแกรมจิตเหมือนการสะกดจิต  แต่โปรแกรมจิตอยากให้เขาโน้มเอียงไปทางไหนภาพพจน์ที่ดียังไง  และหลักสูตรซ้อน  เหล่านี้เป็นจิตศึกษา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือ โรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น