ทำอย่างไรให้การศึกษาเป็นการเรียนรู้ ?
(ถามโดย กศน.พิษณุโลก)
ครูใหญ่ตอบ :
กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องตอบโจทย์ชีวิตแต่ละคน การสร้างการเรียนรู้ให้ติดหนึบในตัวคนจะช่วยได้ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะให้มนุษย์เรียนรู้
1. เข้าใจต่อโลกและปรากฏณ์การ
2. เข้าใจตัวเอง ยกระดับภายในตัวเอง เพราะคือฐานใหญ่ที่จะทำให้อยู่อย่างมีคุณภาพมนุษย์อยู่อย่างมีความหมาย มีความสุข
ต้องสร้างองค์ประกอบคือ บรรยากาศจะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น เช่น ไม่มีขยะ ผักปลอดสารพิษ ทำำงานกับผู้ปกครอง ฯลฯ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ด้านนอก (หลักสูตร) การเรียนรู้ด้านในความเป็นมนุษย์
คลี่คลายใจ
ฉันเป็นครู ฉันจึงได้สัมผัสอนาคต
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556
การทำให้ครูเข้าใจการจัดการศึกษา มีกระบวนการอย่างไร ?
(ถามโดย กศน.พิษณุโลก)
ครูใหญ่ตอบ :
เป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการศึกษาชาติ แต่ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีกระบวนการพัฒนาครูในด้านต่างๆ เพื่อให้เข้าใจการจัดการศึกษา
1. ความรู้ความเข้าใจ
- เนื้อหาต่อวิชาชีพ
- ทักษะวิชาชีพ
2. ทักษะ / ความเข้าใจ
- เกี่ยวกับชีวิต การจัดการชีวิต
- การสอน การเก็บเด็ก แก้ไขพฤติกรรม ออกแบบการเรียนรู้ การประเมิน ฯลฯ
3. อุดมการณ์ จิตวิญญาณ
มนุษย์มีฐานใหญ่คือ จิตวิญญาณ ถ้าไม่มีแบบอย่างจะเกิดยาก
(ถามโดย กศน.พิษณุโลก)
ครูใหญ่ตอบ :
เป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการศึกษาชาติ แต่ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนามีกระบวนการพัฒนาครูในด้านต่างๆ เพื่อให้เข้าใจการจัดการศึกษา
1. ความรู้ความเข้าใจ
- เนื้อหาต่อวิชาชีพ
- ทักษะวิชาชีพ
2. ทักษะ / ความเข้าใจ
- เกี่ยวกับชีวิต การจัดการชีวิต
- การสอน การเก็บเด็ก แก้ไขพฤติกรรม ออกแบบการเรียนรู้ การประเมิน ฯลฯ
3. อุดมการณ์ จิตวิญญาณ
มนุษย์มีฐานใหญ่คือ จิตวิญญาณ ถ้าไม่มีแบบอย่างจะเกิดยาก
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การสอนที่ไม่จัดลำดับจะทำให้เด็กขาดความกระตือรือร้นหรือเปล่า ?
(ถามโดย : ร.ร.เทศบาล 2 จงบุรีรัมย์)
ครูใหญ่ตอบ :
การได้อันดับสุดท้ยจะทำให้กระตือรือร้นหรือเปล่า การทีในชีวิตเรียนมาไม่เตยได้อันดับหนึ่งอันดับสองทำให้คนนั้นกระตือรือร้นขึ้นหรือไม่ แรงจูงใจของมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่การสร้างอันดับ มนุษย์มีความปารถนาอยากจะงอกงาม อยากจะประสบผลสำเร็จ แต่มีพื้นที่มีโอกาสที่จะให้เขางอกงามประสบผลสำเร็จไหม การสร้างอันดับ อันดับหนึ่งจะมีคนเดียว แต่ทีเหลือไม่ใช่อันดับหนึ่ง พื้ที่ก็แคบมากการที่จะให้คนเกิดแรงจูงใจจากภายในแย่างแท้จริง
วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
เด็กจบ ป.6 ไปแล้ว เราได้ตามเด็กหรือเปล่า ?
(ถามโดย : สพท.หนองบัวลำภู)
ไม่ได้ตาม
จากเมื่อเช้าผมให้ผู้ปกครองมานั่งคุยกันเขาก็จะสมัครมาเอง สิ่งที่ผู้ปกครองกังวลมากทำยังไงเด็กที่นี้ออกไปแล้วจะแข่งขันกับข้างนอกได้ แต่ผมก็ไม่ตอบ การให้คำตอบแบบผลีผลาม จะทำให้ไม่เข้าใจ แล้วคนนั้นหรือเด็กๆ ก็ตามถ้าได้คำตอบจากครูแบบผลีผลามเด็กๆ ก็จะไม่ผ่านกระบวนการคิดอย่างใคร่ครวญและเข้าใจด้วยตัวเอง อันตราย แล้วสุดท้ายเขาจะเป็นคนที่รอคำตอบ รอคำสั่ง รอว่าต้องการให้ทำยังไง เวลาเขาเผชิญกับปัญหาที่ใหม่สดเขาก็จะจัดการไม่ได้เพราะเขาไม่มีความสามารถในการคิด ผู้ปกครองเหมือนกันพอเจอปัญหานี้สิ่งที่ผมก็คือ ผมก็เล่าไปเรื่อย ผมเล่าว่าเมื่อวันเสาร์ที่แล้วครูประจำชั้นลูกชายผม มีหนังสือแจ้งมาว่าลูกชายผมอาจจะได้เรียนซ้ำในวิชาบาสเกตบอล ผมก็ไปนั่งฟังปัญหาว่าคืออะไร เขาให้ขาดเรียนไม่เกินสี่ครั้งแต่ขาดเกิน ก็แค่ฟังก็ไม่ได้บอก ลูกชายก็ไม่สบายใจว่าพ่อทำไม่ไม่ดุ พ่อไม่เอ่ยอะไรสักคำ นั่งกินข้าวกันก็ไม่ได้บอกไม่พูดไม่ได้ตำหนิ เฉยๆ ไม่ได้พูดถึงเรื่องนั้น ตื่นเช้ามาลูกชายก็โพสต์เข้ามาใน Facebook ของผมว่า เคยรู้สึกบ้างไหมว่าบางครั้งเราล้มเหลว ผมก็เฉยๆ ไม่ได้ตอบอะไร เพราะสิ่งที่ผมทำยู่ผมไม่ได้เสื่อมศรัทธาต่อตัวเขาอันแรก อย่างที่สองผมไม่ให้คำตอบอย่างผลีผลามเพราะผมต้องการให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเขาต้องแก้ปัญหาด้วยตนเอง ยังไงผมก็ไม่เคยวิตกกังวลเลยเรื่องลูกชาย เพราะผมรู้ว่าเขารักการอ่านมากๆ มันน่าตกใจเพราะขณะที่ไปมีผู้ปกครองที่มีปัญหาด้วยกัน แล้วมีเด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ ม.5 แล้วมีเด็กผู้หญิงบางคนติด มส. 8 วิชา แล้วคนที่มาแก้ก็เป็นพ่อ ผมรู้สึกว่าเกิดอะไรขึ้น ก็เลยนั่งคุยกันถึงปัญหา มีเด็กผู้หญิงหลายคนอยู่ชั้น ม. 5 ใช้ชีวิตอยู่แบบครอบครัว มีข้อมูลเยอะมากเด็กผู้หญิงมัธยมยอมขายตัว กลับมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น เด็กผู้หญิงบางคนไม่กล้ายกโทรศัพท์ขึ้นมาโทรเพราะว่าของตัวเองเป็นเครื่องราคาถูกเพราะไม่ใช่ไอโฟน ไม่ใช่ BB เด็กผู้หญิงบางคนไม่กล้าออกจากหอพักถ้าไม่ได้ใช้เครื่องสำอาง ทุกวันนี้มีหลากหลายและแพง ถ้าไม่ได้ทาสิ่งเหล่านั้นไม่กล้าเดินออกไปไหน ไม่มีกระเป๋าสะพายที่มียี่ห้อก็ไม่กล้าเดินออกไป เราจะกลับไปแก้เขาได้ไหม สังคมทุกวันนี้มันถูกวางสายพานไว้แล้ว เราจะตกลงไปสายพานไหนเรามีความคิดไม่แข็งแกร่ง ไม่มีความรู้สึกดีต่อตัวเอง ไม่มีภาพพจน์ที่ดีต่อตัวเอง ทำอะไรก็ไม่มั่นใจต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะข้างในไม่แข็งแกร่งก็จะตกลงไปในสายพาน ฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้ในประถมกับอนุบาลผมมองว่าไม่ใช้ตัวความรู้ ความรู้เป็นอันดับรอง ตัวสำคัญคือ พื้นฐานความแข็งแกร่งของข้างใน ผมกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเรากำลังทำสิ่งที่ให้เขารู้จักคิด เผชิญปัญหาแล้วรู้จักคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง มีความรู้สึกดีต่อตัวเอง เห็นคุณค่าของการมีชีวิต เป็นเรื่องยากเป็นนามธรรมมากแต่เป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญกับโลกวันข้างหน้า อาจารย์รู้ไหมวันที่ 21 เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 จะเกิดอะไรขึ้นเป็นวันที่ระบบสุริยะจักรวาลโคจรรอบกาแล็กซี่ทางช้างเผือกได้ตรงจุดเดิมพอดี 250 ล้านปีมีครั้งหนึ่ง มีนักวิทยาศาสตร์ออกมาพูดกันเยอะ เขาบอกว่านอกจากจะโคจรครบรอบกาแล็กซี่แล้ว ในจังหวะนั้นเองจะเป็นจังหวะที่ดวงอาทิตย์จะหันด้านที่เป็นจุดอ่อนมาตรงกับโลก ตรงที่เป็นจุดอ่อนมันเป็นที่ระบายความร้อนก็จะพวยพุ่งเปลวออกมา ก็จะมีลมสุริยะที่มีความรุนแรงมาก สามารถทำลายคลื่นแม่เหล็กที่อยู่รอบโลกได้ คือถ้าแม่เหล็กหายชั้นบรรยากาศก็จะหายไปด้วย ทุกอย่างก็เป็นไปได้ แต่จริงๆ ไม่รู้ เราก็ต้องรอว่าวันนั้นจะเกิดอะไรขึ้น แต่ทายได้เลยว่าเด็กๆ ที่อยู่กับเราที่อยู่โรงเรียนตอนนี้อีกสิบปีข้างหน้าจะเผชิญปัญหาที่ไม่เหมือนเราในตอนนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง รู้ไหมว่าบางคนทุกวันนี้ไม่มีความรู้สึกต่อกับฤดูกาล ชีวิตไม่เกี่ยวกับฤดูกาลแล้วทุกวันนี้ บางคนไม่มีความทรงจำดีๆ เกี่ยวกับฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน ทุกคนถูกสายพานของสังคมเกี่ยวไป ไปเรียนในเมืองเรียนจบใช้ชีวิตในเมืองทำงานออฟฟิต ไปทำงานแต่เช้ากลับเย็น
สำหรับเรื่องลูกชายผมจะไม่ให้คำตอบแบบผลีผลาม ผมจะให้เขาได้ใคร่ครวญกับปัญหา แต่สิ่งหนึ่งที่ผมให้ได้คือ ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าต้องสอบแพทย์ได้พ่อจึงจะรัก เป็นแบบนั้นแบบนี้ เป็นแบบเขานั้นแหล่ะ แต่เราประคับประคองให้เขาไม่ทำร้ายคนอื่น
สตีฟ จ๊อบ คนที่คิดไอโฟน คิดโปรแกรมแม็กอินทอช ในโรงพิพม์จะใช้ ทำไมเราไม่ใช้แต่ในโรงพิมพ์ใช้ เพราะเขาจบวิชาเดียวตอนเรียนมหาลัย เรียนไม่จบถูกไล่ออก จบวิชาเดียวคือการออกแบบตัวอักษร และในเครื่องแม็กอินทอชเก่งเรื่องเดียวคือการออกแบบตัวอักษร แต่เขาทำเรื่องนั้นเรื่องเดียวจดจ่ออย่างยาวนาน ใครก็ตามในโลกนี้ถ้าอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะต้องทำและคลุกคลีอยู่กับเรื่องนั้น จดจ่ออยู่กับเรื่องนั้นถึง 10,000 ชั่วโมง
โรงเรียนบอกว่างบประมาณไม่ค่อยมี แต่พอมาดูบริบททำไมจึงได้โอ่โถง สื่อต่างๆ ทำไม่มีพร้อม ?
(ถามโดย : สพท.หนองบัวลำภู เขต 1)
ครูใหญ่ตอบ : ใช้ให้มีคุณภาพ ใช้ให้มีประสิทธิภาพ ไม่มีรั่วไหล โรงเรียนรัฐบาลต้องจ่ายรายหัวต่อคนต่อปี ประมาณ 33,500 บาท/คน/ปี ส่วนใหญ่เป็นค่าเงินเดือนครู ที่เหลือก็เป็นค่าอื่นๆ ของเราค่าทุกอย่างต่อคนต่อปี 36,000 บาท/คน/ปี ที่สำคัญคือใช้ทุกอย่างให้คุ้มค่า มีหลายอย่างที่เราพยายามควบคุมปัจจัย เช่น ที่นี้ไม่มีสหกรณ์ร้านค้าให้เด็กซื้อของ เหตุผลมีสำคัญด้วยเพราะสหกรณ์ส่วนใหญ่ไม่ได้สอนความเป็นสหกรณ์แต่สอนเรื่องการจับจ่าย และสิ้นค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยไม่จำเป็น เราพยายามจัดอาหารให้เพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณค่า อย่างน้อยผมมั่นใจว่าเด็กที่มาโรงเรียนนี้ถึงเขาไม่ได้กินอาหารมาหรืออาหารเย็นไม่มีกิน เพราะมีเด็กจำนวนเยอะที่อยากจนไม่มีพ่อแม่อยู่กับตายาย ทุกอย่างที่ทำที่นี้ผ่านการคิดอย่างละเอียดลออ คิดอย่างมีความหมาย
จำเป็นไหมที่จะคลุกคลีกับผู้ปกครองหลังเลิกเรียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ?
(ถามโดย : สพท.หนองบัวลำภู เขต 1)
ครูใหญ่ตอบ : ไม่จำเป็น ทำไมเราจัดการเด็กได้โดยที่เราไม่ใช่อำนาจ นั้นเพราะครูกับเด็กสัมผัสได้ถึงความจริงใจที่มีต่อกัน เด็กเขารับรู้ได้ว่าครูทำด้วยความจริงใจที่มีต่อเขา เหมือนกันกับผู้ปกครอง แต่สิ่งที่เราสื่อเราชัดเจนมาก แต่ความเข้าใจผิดมีเยอะ วิธีการตอบโตความเข้าใจผิดคือ ไม่ต้องตอบโต้ วิธีประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุดคือทำดีทำให้ลูกเขางอกกงาม แล้วลูกเขาจะประชาสัมพันธ์สิ่งนั้น
การจัดการเรียนการสอนแบบลำปลายมาศพัฒนามีปัญหาบ้างหรือเปล่า เช่น การอ่านออก เขียนได้ หรือคณิตศาสตร์ ฯลฯ ?
(ถามโดย : สพท.หนองบัวลำภู เขต 1)
ครูใหญ่ตอบ : เราทำควบคู่กันไปเพราะคณิตฯและภาษาเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ เรากล้าพูดได้เลยว่าในโรงเรียนนี้ไม่มีใครอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตั้งแต่ชั้น ป.1-6 ยกเว้นอนุบาล เพราะอนุบาลไม่สอนอ่านออกเขียนได้ ขี้เหร่ยังไงทุกคนต้องอ่านออกเขียนได้และคณิตศาสตร์ต้องได้ แต่ได้แบบเรา คำว่าได้แบบเรามีความหมายมาก เพราะวิธีการสอนคณิตศาสตร์ของเราไม่ได้มุ่งแบบที่ท่านเห็นเรามุ่งเรื่องทักษะจริงๆ ทักษะการมองเห็นภาพ ทักษะการมองเห็นรูปแบบของคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหา ไม่ใช่การคิดเลข การคิดเลขเป็นเรื่องรองๆ การเข้าใจจริงๆ ถามว่ามีปัญหาอ่านออกเขียนได้ไหม จึงไม่มีปัญหาเพราะเราทำควบคู่กันไป เราแยกสามวิชาออกมา ก็มีภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)