วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การให้เด็กเป็นคนเลือกหัวข้อที่อยากเรียนเอง มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในหัวข้อและอยากเรียนในเรื่องเดียวกัน ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  ที่ลำปลายมาศพัฒนาเราไม่ได้แยกสอน  8 สาระ  แต่เราจัดการเรียนเป็นบูรณาการโดยโครงงาน  มี  3  วิชาที่แยกออกมาสอนเป็นบุรณาการในวิชาคือ  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  ดังนั้นการที่จะทำให้การเรียนการสอนมีความหมาย  ผู้เรียนมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการได้มาของหัวข้อที่จะเรียน  ซึ่ง พรบ.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานปี  51  ก็ให้ครูออกแบบการสอนเป็นหน่วยบูรณาการ  ซึ่งการได้มาของหน่วยที่ดีมาจากสองส่วนคือ  จากตัวครู  และจากตัวนักเรียน (สำรวจความสนใจ)  ดังนั้นในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนที่ลไปลายมาศพัฒนาจะเป็นสัปดาห์ของการสร้างแรงบันดาลใจหรือสร้างแรงจูงใจ  โดยผ่านหลายๆ อย่าง  เช่น  ดูสารคดีบางเรื่อง  ดูคริปต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เรื่องเล่า  นิทาน  ประสบการณ์  จัดบรรยากาศในชั้นเรียน  ผู้รู้  เป็นต้น
          เมื่อเราสร้างแรงบันดาลใจแล้วก็จะมาถึงขั้นของการเลือกหัวข้อของเด็กๆ ที่ลำปลายมาศพัฒนาเราจะไม่ใช้วิธีเสนอหัวข้อแล้วยกมือโหวดเรียนตามเสียงข้างมาก  เพราะมันไม่แฟร์สำหรับคนที่ไม่อยากเรียนเพราะทุกคนในห้องไม่อยากเรียนในหัวข้อที่เลือก  แต่เราจะหาสิ่งที่เด็กอยากเรียน  เป็นสิ่งที่มีความหมายกับผู้เรียน  เป็นข้อสงสัย  หรือเป็นแรงบันดาลใจ  ดังนั้นครูที่นี้จะใช้เครื่องมือคิดมาช่วย  เช่น
  • Think pair Share  คือ  Think  คนเดียว  แต่ละคนเขียนหรือวาดภาพสิ่งที่ตัวเองสนใจ  อยากเรียนรู้  ให้ได้มากที่สุด  จากนั้นก็  Pair  จับคู่  นำสิ่งที่แต่ละคนคิดหรือเขียนคนเดียวมาและเปลี่ยนกันกับเพื่อน  แล้วเขียนสิ่งที่เหมือนกัน  คล้ายกัน  หมวดมู่  ประเภท  ชนิดเดียวกันหรือคิดขึ้นใหมได้ระหว่่างคู่ให้ได้มากที่สุด  ต่อมาก็คือ  Share  ทำคล้ายขั้นตอน  Pair  แต่ทำรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
  • Chart & Card  คือ  ครูแจกระดาษแผ่นเล็กให้เด็กเขียนวิ่งที่สนใจอยากเรียนรู้แผ่นละหนึ่งอย่าง  คนละ  3-5  แผ่น    แล้วให้ทุกคนจัดกลุ่ม  สิ่งที่คล้ายกันเข้ากลุ่มเดียวกัน  ครูก็จะได้หัวข้อที่เด็กอยากเรียน
  • หรือเทคนิคการระดมความคิด  เช่น  Round Table,  Round Robin,  Place Mat,  Brainstorming,  Blackboard Share
พอได้สิ่งที่เด็กทุกคนอยากเรียนรุ้ร่วมกันแล้ว  จากนั้นก็ให้ทุกคนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยให้น่าเรียน  น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเิติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง
หรือดูเพิ่มเติมได้ที่ http://theeyelpmp.blogspot.com/2010/08/blog-post.html?spref=fb

1 ความคิดเห็น: