วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขณะที่ครูกำลังสอน มีนักเรียนเล่นกันหรือไม่สนใจเรียนจะมีวิธีการจัดการอย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


ตอบ  :  ถ้าขณะที่ครูกำลังสอน  แล้วมีเด็กบางคนกำลังเล่นกันไม่สนใจครู  ที่ลำปลายมาศพัฒนาครูจะไม่ไปดุเด็กที่เล่น  แต่ครูจะให้ความสนใจหรือให้กำลังใจเด็กที่น่ารักด้วยการเสริมแรงด้านบวก  เช่น  ขอบคุณคนที่นั่งข้างหน้าน่ารักมากเลยค่ะ  ขอบคุณพี่เจมส์ที่มองมาที่คุณครู  ขอบคุณพี่ปาล์มที่ตั้งใจฟัง  พอเราสังเกตเห็นว่าเด็กที่เล่นกลับมาสนใจที่ครูเราก็ชมเข้าทันที  เช่น  ขอบคุณพี่ลาร์คมากค่ะแม้จะนั่งอยู่ไกลแต่ก็ตั้งใจฟังคุณครู  จากนั้นครูก็สอนตามปกติ  หรือถ้าชมให้กำลังคนที่น่ารักแล้วเด็กที่เล่นก็ยังไม่สนใจ  ครูก็จะใช้วิธีให้เด็กที่เล่นมานั่งใกล้ๆ ครู  ที่นี้จะไม่มีการทำโทษด้วยการให้เด็กออกไปอยู่นอกห้องเรียน  หรือไปอยู่ตามมุม  ประจานให้เด็กรู้สึกอาย  หรือใช้คำพูดด้านลบ  แต่เราจะเน้นการเสริมแรงด้านบวก  ซึ่งเราจะใช้จิตวิทยาสำหรับมนุษย์ 

          เมื่อเรามองเด็กคือมนุษย์ที่มีคุณค่าคนหนึ่งสิ่งที่เราควรทำคือ
ลดสิ่งเหล่านี้
  • ลดการเปรียบเทียบ  ไม่มีใครชอบการถูกเปรียบเทียบให้ตัวเองมีค่าด้อยค่ากว่าคนอื่น  การเปรียบเทียบจะทำให้บางคนเท่านั้นชนะ
  • คำพูดด้านลบ  คำด่า  คำปรามาส  คำสบประมาส  หรือแม้กระทั้งการตั้งฉายา  ล้วนแต่เป็นคำพูดด้านลบ  และเราเชื่อแน่ๆ ว่าไม่มีใครชอบ  เมื่อเด็กถูกด่า  "โง่เหมือนควายเลย"  คำๆ นี้จะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกเด็ก  และแสดงผลให้เขาขลาดกลัวที่จะคิดหรือทำสิ่งต่างๆ  ที่สำคัญสำคัญควายตัวนั้นติดตัวเขาไปตลอด  และจะโตไปพร้อมๆ กับเขาด้วย
  • หลอกให้กลัว  "อย่าไปนะเีดี๋ยวตำรวจจับ  อย่าไปนะเดี๋ยวผีหลอก  เดี๋ยวสอบตก  เดี๋ยวหักคะแนน"    การหลอกให้กลัวในวันนัื้นอาจหยุดพฤติกรรมดื้อรั้นของเด็กในทันที  แต่กลับทำให้เด็กรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผลในเวลาต่อมา 
  • ใช้ความรุนแรง  ไม่มีใครชอบให้คนอื่นมากระทำความรุ่นแรงกับตัวเอง  ปัญหาความขัดแย้ง  และความรุนแรงในโรงเรียนเกิดขึ้นแน่นอน  แต่อาจมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป  บางครั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็ช่วยให้เด็กๆ รู้ว่าจะวางระยะกับคนอื่นอย่างไร  เรียนรู้ที่จะปรับบทบาทของตัวเองในการเข้าสังคม  มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนขึ้น
  • ยัดเยียดความรู้  เด็กควรจะได้เรียนสิ่งที่มีความหมายกับตนเอง  มีความสำคัญและใีความจำเป็น  ไม่ใช่ได้เรียนในสิ่งที่คนอื่นยัดเยียดให้  ครูมีหน้าที่ทำให้ผู้เรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ 
  •  
          เมื่อลดสิ่งต่างๆ แล้วควรสร้างสิ่งต่อไปนี้
  • สร้างบรรยากาศคลื่นสมองต่ำ
  • สร้างภาพพจน์ด้านบวก  ให้เด็กทุกคนได้รู้สึกว่าตัวเองได้รับความรัก  มีคุณค่าต่อคนอื่นหรือสิ่งอื่นๆ  มีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง  ชื่นชอบและภูมิใจในตนเอง   เพราะเมื่อรุ้สึกดีต่อตัวเอง  ก็จะรู้สึกดีต่อผู้อื่น  และรู้สึกดีต่อสรรพสิ่ง  เข้าจะกลายเป็นคนมีเสน่ห์  น่ารัก  และมความสุข
  • จูงใจไม่ใช่บังคับ  เด็กไม่อยากเรียนไม่ใช่ความผิดของเด็ก  แต่เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องทำให้เขาอยากเรียน  โดยการกระตุ้น  การสร้างแรงจูงใจและการสร้างความท้าทายที่เหมาะสม
  • ให้ความรัก  เด็กๆ นั้นไม่เข้าใจคำว่ารัก  แต่เขาสัมผัสความรู้สึกการได้รับความรักไ้ด้  โดยการตั้งใจฟัง  ยิ้มให้  พูดจานุ่มนวล  หรือสัมผัสโอบกอด
  • Empower  โดยการยิ้ม  ชม  และการแสดงความรัก  เช่น  การกอด  การแแตะสัมผัส  ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น