วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระดับอนุบาลมีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ :  ระดับชั้นอนุบาลเป็นวัยที่สำคัญที่จะต้องได้รับการวางรากฐานของการเรียนรู้ทุกๆ ด้าน  ดังนั้นเราจึงมีการออกแบบกิจกรรมให้สอดรับกับการพัฒนาเด็กทั้ง 4  ด้าน  ดังนี้
กิจกรรม  4  หลัก
  1. กิจกรรมพัฒนาร่างกายและสุนทรียะ  เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก-ใหญ่  การพัฒนาด้านอารมณ์  สังคม  การจินตนาการ  สร้างสรรค์
    • วันจันทร์  นิทาน  ละคร  เพื่อปลูกฝังคุณธรรมหรือปรับพฤติกรรม

    • วันอังคาร  เคลื่อนไหวประเพลงการศึกษา  เพลงพื้นบ้าน
    • วันพุธ  กีฬา  เกม  การละเล่นพื้นบ้าน
    • วันพฤหัสบดี  เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์หรือคำบรรยาย
    • วันศุกร์  เปิดมุมน้ำ  มุมทราย  เด็กๆ ได้ตักตวง  ได้เล่นกับฟองสบู่  ได้เป่า  ทวันนี้ทุกคนจะมีเสื้อผ้ามาเปลี่ยนเพื่อเล่นน้ำกัน

         2.  กิจกรรมจิตศึกษากับการพัฒนาคลื่นสมอง  เพื่อปลูกฝังสิ่งดีงามในตัวเด็ก  สร้างสมาธิเพื่อให้พร้อมที่จะเีรียนรู้  เด็กวัยอนุบาลไม่เหมาะที่จะฝึกสมาธิผ่านการนั่งสมาธิ  เพราะขัดกับธรรมชาติของวัยและเด็กยังไม่มีความเข้าในกับคำว่าสมาธิ  เขารู้แต่ว่าครูให้นั่งนิ่งๆ นานๆ จะทำให้เ็ด็กเกิดความกดดัน  เครียด  ส่งผลก่อให้เกิดการเรียนรู้ช้าหรือปิดกันการเรียนรู้ได้  วิธีที่หมาะกับเด็กในวัยนี้ที่เราใช้คือ
      •  ผ่านโยคะ  การแปลงร่างเป็นท่าต่างๆ เริ่มจากท่ายืน  นั่ง  แล้วจบด้วยท่านนอน  เคล็ดลับของการทำโยคะคือ  การหายใจ  เป็นการทำงานประสานกันทั้งกาย  ใจ  และจิตวิญญาณ
      • ผ่านการกำกับสติ  เช่น  การส่งน้ำ  การส่งเทียน  การปั้นดินน้ำมัน  การวาดภาพ  การฉีกกระดาษ 
      • การร้อยลูกปัด  การต่อเม็ดมะค่า  ฯลฯ
      • ผ่านการทำ  Brain Gym  การพัฒนาสมองทั้งสองซึก (ซ้ายและขวา)
      • ผ่านเกมต่างๆ 
      • ผ่านนิทาน  เรื่องเล่า  ประสบการณ์
      • ฯลฯ
                      อะไรก็ตามที่เด็กทำแล้วจดจ่อกับสิ่งที่ทำนั้นคือ  สมาธิ

           3.  กิจกรรมพัฒนาสติปัญญา  (การเรียนบูรณาการโดยโครงงาน  Project Based)  เด็กๆ จะได้เรียนในสิ่งที่เขาได้เลือก  โดยแต่ละหน่วยเราจะใช้เวลาเรียน  10  สัปดาห์  กระบวนการจะเหมือนกันทุกชั้นในโรงเรียน  เริ่มตั้งแต่การบุรณาการทุกอย่างไว้ด้วยกัน  เด็กได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง  ครูกระตุ้นให้เด็กได้คิดในทุกๆ กิจกรรม  และเป้าหมายสุงสุดเพื่อให้เด็กๆ ได้เข้าใจอะไรบางอย่างที่เขาอยากที่จะเรียนรู้
          4.  กิจกรรมพัฒนาการคิดและจินตนาการ  เช่น  การเล่นตามมุมเสริมประสบการณ์  การเล่นกลางแ้จ้ง  การเส่นสร้างสรรค์  เสรี  การเล่นเครื่องเล่น  เกมการละเล่นต่างๆ เป็นต้น


                หลายท่านคงจะสงสัย  เพราะกิจกรรมอนุบาลในโรงเรียนส่วนใหญ่จะมี  6  หลัก  แล้วทำไมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงมีแค่  4  หลัก  ที่จริงแล้วถ้าท่านทบทวนกิจกรรมของเราดีๆ จะเห็นว่ากิจกรรม  6  หลักไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่เราเอามารวมกันแล้วแบ่งออกใหม่ให้เหลือแค่  4  หลักเท่านั้นเอง  จริงๆ แล้วกิจกรรมหลักจะมีกี่กิจกรรมไม่ได้สำคัญเท่ากับเด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพและครบในทุกๆ ด้านหรือเปล่า  นี้ต่างหากคือสิ่งที่สำคัญกว่าสิ่งอืื่นใด

      ครูใหญ่ตอบเพิ่มเติม  :  สำหรับเด็กเล็กการนั่งสมาธิอาจจะเป็นโทษต่อร่างกายมากกว่าเป็นคุณ  เพราะธรรมชาติของเด็กเล็กมีความกระตือรือร้นที่อยากรุ้อยากเห็น  ไม่หยุดนิ่ง  การที่บังคับให้เด็กนั่งนิ่งๆ หลับตาเขาจะรู้สึกกดดัน  ระแวง  อึดอัด  ส่งผลให้สมองหลั่งสาร  Cortisol  เป็นสารแห่งความเครียด  ซึ่งจะทำให้ปิดกั้นการเรียนรุ้และส่งผลให้ใยสมองไม่เจริญเติบโต
                ธรรมชาติของเด็กมักส่งเสียงดัง  ซึ่งเป็นผลดีต่อปอด  อัตตาของตน  การทำให้เด็กนิ่งสงบอยุ่นานๆ อาจเป็นผลดีต่อการสร้างวิันัย  แต่ไม่เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตทางจิตใจ  วันหนึ่งๆ ควรให้เด็กสงบช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  เพื่อให้เขาได้สังเกตความรู้สึกจากภายใน  นอกจากนั้นก็ควรให้เขาได้ตะโกนส่งเสียงดัง
                การฝึกสมาธิผ่านกิจกรรม  กำกับสติ  จึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็ก  เพราะเป็นสิ่งที่เขาสนใจใคร่รู้  ได้เคลื่อนไหว  ได้จดจ่อเพราะความรู้สึกอยากจดจ่อจริงๆ 


      อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น