วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จากที่ได้สังเกตการจัดการเรียนการสอนของลำปลายมาศพัฒนา สังเกตเห็นว่านักเรียนมีความมั่นใจและกล้าพูด กล้าแสดงออกมาก โรงเรียนมีวิธีสร้างให้เด็กมีคุณลักษณะอย่างนี้ได้อย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)


ตอบ  :  การที่คนคนๆ หนึ่งจะเกิดความมั่นใจ  กล้าแสดงออก  ไม่ใช้ว่าจะเกิดจากตัวเด็กเอง  แต่เกิดจากบุคคลรอบข้างทำให้เป็น  ถ้าเราให้โอกาส  ให้การยอมรับ  ไว้ใจและเชื่อใจเขาจะทำให้เด็กมั่นใจและกล้าที่จะแสดงออก  ซึ่งที่ลำปลายมาศพัฒนาทำหลายอย่างและทำอย่างต่อเนื่อง  เช่น 
  • หัวหน้าห้อง  ทุกชั้นเรียนจะไม่มีหัวหน้าห้อง  แต่เด็กทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้  และเป็นผู้ตามที่ดีได้ด้วย  ระดับอนุบาลครูจะไล่ตามวันที่  เช่น  วันที่  12  คนที่เลขที่  12  ก็จะได้เป็นผู้นำในการทำกิจกรรม  ได้แก่  ช่วยคุณครูแต่เพื่อนที่พร้อมเข้าห้องเรียนหรือทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น  ถ้าเลขที่ของเด็กคนใดตรงกับวันหยุด  เป็นหน้าที่ครูที่จะต้องหากิจกรรมให้เลขที่ดังกล่าวได้เป็นผู้นำ  ส่วนพี่ประถมฯ  ครูจะเรียกว่ามอนิเตอร์  อาจจะเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลก็ได้  ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละชั้น
  • การชักธงชาติ  และเชิญธงชาติ  เด็กทุกคนในโรงเรียนต้องมีโอกาสได้ออกไปทำหน้าที่ดังกล่าว  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้นป.6  โดยเวียนกันไปในแต่ละวัน  ซึ่งกิจกรรมหน้าเสาธงของเราจะใช้เวลาสั้นๆ ประมาณห้านาที  ร้องเพลงชาติ  สวดมนต์แปล  ร้องเพลงแผ่เมตตา  จากนั้นครูก็กล่าวขอบคุณและชื่นชมนักเรียน  แล้วเชิญทุกคนแยกย้ายเข้าชั้นเรียนเพื่อทำกิจกรรมต่อไป  ซึ่งกิจกรรมหน้าเสาธงเราจะไม่มีครูมาอบรมหน้าเสาธง  เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กไมพร้อมที่จะเรียนรู้ 

  • กลุ่มบริหาร  แต่ละชั้นจะมีการจัดกลุ่มบริการ  เพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้กับเื่พื่อนๆ เช่น  น้องอนุบาลจะมีกลุ่มบริการในการตักอาหารให้กับเพื่อนๆ กลุ่มบริการในการตากผ้าเช็ดตัว   กลุ่มบริการในการปูที่นอน  กลุ่มบริการในการแจกการบ้าน  แจอาหารว่าง  ไปรับนม  แจกนม  ฯลฯ
  • สภานักเรียน  นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.6  ทุกคนสามารถสมัครเป็นสมาชิกสภานักเรียนได้ทุกคน  ในแต่ละปีจะมีเด็กสมัครเกือบร้อยคน  และเราจะมีช่วงเวลาให้ทุกคนที่สมัครได้แถลงนโยบาย
  • กิจกรรมประชัดความสามารถด้านต่างๆ ในแต่ละเดือนลำปลายมาศพัฒนาจะจัดให้มีเวทีประชันความสามารถ  ใครอยากโชว์ด้านใดก็สามารถนำมาแสดงได้   เช่น  เล่นดนตรีสากล  ดนตรีไทย  ร้องเพลง  ประชันหมากลุก  ประชั้นศิลปะ  ประชั้นการวาดภาพ  การแต่งกลอน  ฯลฯ  เพราะการประชัดเราจะไม่มีการตัดสิน  แต่ทุกคนจะได้นำเสนอความสามารถ  แล้วทุกคนก็จะเกิดความภาคภูิมิใจ  กล้าที่แสดงออก
  • Show and Share  (แลกเปลี่ยนเรียนรู้)  ทุกๆ สัปดาห์นักเรียนทุกชั้น  ทุกคนจะมีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองได้ไปศึกษาค้นคว้าร่วมกับผู้อื่น  แล้วสุดท้ายเด็กจะเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง 
  • อ่านหนังสือให้น้องฟัง  พี่ประถมจะหมุนเวียนกันไปอ่านนิทานให้น้องๆ อนุบาลฟัง  พี่ป.4-6  ก็ไปสอนน้องๆ ที่อ่านหนังสือช้า
  • สรุปงานสิ้นปี  ในแต่ละปีนักเรียนทุกชั้นจะสรุปสิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นได้รับทราบ  อาจจะสรุปออกมาในรูปของละคร  นิทาน  เพลง  การเต้น  โต้วาที  ฯลฯ
  • การสอน  เวลาที่ครูสอนแล้วถ้านักเรียนตอบผิดครูจะไม่ไปตัดสินว่าถูกหรือผิด  เช่น  เรียนคณิตศาสตร์  แม้ว่าครูจะรู้ว่านักเรียนตอบผิด  แต่ครูก็จะไม่บอกว่าผิดหรือถูก  ครูจะถามว่าคิดอย่างไรจึงได้คำตอบนี้  จากนั้นครูก็จะใช้วิธีถามเพื่อนๆ  มีใครคิดแตกต่าง  หรือมีใครได้คำตอบแตกต่างจากนี้  พร้อมอธิบายวิธีคิด  แล้วครูก็จะถามเด็กที่ตอบผิดว่าเห็นด้วยกับคำตอบของเพื่อนหรือไม  สุดท้ายเด็กคนที่ตอบผิดจะรู้เองว่าคำตอบที่ถูกคืออะไร  และสามารถคิดหาคำตอบได้หลายวิธี  เด็กจะเกิดองค์ความรู้ด้วยตนอง  และอีกอย่างเด็กจะไม่รู้สึกอายหรือเสียหน้าเลยที่ตอบผิด
  • แนวทางการจัดการเรียนการสอน  แม้แต่การออกแบบการเรียนเราก็ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง  เด็กๆ มีส่วนร่วมในการเลือกหน่วยที่เขาอยากเรียน  มีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนในทุกกระบวนการ
"ครูจะไม่เล่นบทพระเจ้า  ไม่ตัิดสินถูกผิด  แต่ครูจะต้องให้โอกาสเด็กทุกคนได้คิด  ได้อธิบายวิธีคิด"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น