วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อนุบาลที่เข้ามาใหม่ๆ หรือเด็กเล็ก มีวิธีการปลูกฝักวินัยหรือคุณธรรมอย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  การที่เราจะสร้างหรือปลูกฝังวินัยให้กับเด็กนั้นการที่ครูนั่งบอกให้เด็กเป็นคนดี  มีวินัยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน  และเด็กจะไม่ค่อยซึมซับ  หากเราให้เด็กเรียนรู้ผ่านการทำ  ผ่านวิถีชีวิตที่ดีงาม  สิ่งนี้จะยั่งยืนและเป็นการปลูกฝังคุณธรรมเชิงลึกด้วย  วิธีการที่ลำปลายมาศพัฒนาทำนั้นมีหลากหลายวิธี  เช่น
  • การออกแบบกิจกรรมให้เป็นวิถีชีวิต  เด็กมาโรงเรียนตั้งแต่เช้า  มาเจอคุณครูที่เป็นกัลยาณมิตร  ไ้เล่นกับเพื่อนๆ ได้ทำกิจกรรมหน้าเสาธงร่วมกันแบบสั้นๆ แต่ได้ความรู้สึก  ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ  ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  ทำสม่ำเสมอ  ต่อเนื่อง  เด็กสามารถคาดคะเนได้ว่าจะเกิดกิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละช่วงของวัน 
  • เข้าสู้การเตรียมกาย  เตรียมใจ  ก่อนการเรียนผ่านกิจกรรมจิตศึกษา หลังจากเด็กดื่มน้ำเข้าห้องน้ำแล้ว  เด็กจะนอนเป็นปลาดาว  (ท่าศพอาสนะ)  ที่บ้านของต้วเอง  ครูเปิดเพลงบรรเลงพัฒนาคลื่นสมองเบาๆ จากนั้นครูก็ใส่ข้อมูลเชิงบวก  เช่น  เด็กๆ บอกตัวเองว่าเราเป็นคนที่น่ารัก  เป็นคนยอดเยี่ยม  บอกว่าเรารักตัวเราเอง  รักทุกคน  และทุกคนก็รักเราเช่นกัน  ฯลฯ  เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เด็กผ่อนคลาย  จิตใต้สำนึกเปิด  ครูต้องการให้เด็กเป็นอย่างไรเราก็พูดใส่ข้อมูลสิ่งนั้นเข้าไป  แ้ล้วสิ่งที่ครูพูดมันจะลงไปสู่จิตใต้สำนึกของเด็ก  ทำทุกๆ วัน  สุดท้ายของกิจกรรมคือการกอดให้ความรัก  การยอมรับในตัวของกันและกัน  ซึ่งกิจกรรมในช่วงจิตศึกษาจะมีเยอะมากขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมของครูแต่ละชั้น
  • เราจะฝึกเด็กเล็ก  เรียกทุกอย่างว่าพี่  เช่น  พี่ต้นไม้  พี่แก้วน้ำ  พี่กระดาษ  พี่กระเป๋า  พี่ร้องเท้า  ฯลฯ  อาจจะสงสัยว่าทำไม  เป็นการฝึกให้เด็กเคารพในทุกสรรพสิ่ง  เห็นคุณค่า  เห็นความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง  หากเราเคารพในกันและกันแล้วเราจะไม่ไปกระทำหรือทำร้านสิ่งนั้น
  • ครูและเด็กๆ เวลาเอ่ยชื่อกันเราจะใช้ชื่อเล่น  และคุณครูจะเรียกเด็กตั้งแต่อนุบาล 2 - ป.6  ว่าพี่แล้วตามด้วยชื่อเล่นของเขา  เช่น  พี่บีม  พี่ต่อ  เด็กๆ ก็จะเรียกคุณครูชื่อเล่นเช่นกัน  เช่น  ครูต๋อย  ครูยิ้ม  เป็นต้น  จะมีน้องแค่ชั้นเดียวคือน้องอนุบาล 1
  • พิธีชา  ในช่วงบ่ายก่อนกลับบ้าน  เด็กๆ จะผ่านพิธีช้าคือการได้ใคร่ครวญตัวเอง  ได้หยุดดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย  การรับรู้กับปัจจุบันทั้งกายและใจ  การเห็นคุณค่าของสพรรสิ่ง  เช่น  เด็กๆ ดื่มนม  สัมผัสถึงรสชาติของนม  นึกถึงสิ่งที่มีคุณค่า  ขอบคุณสิ่งเหล่านั้นเช่น  ขอบคุณปม่วัว  ของคุณต้นหญ้า  ของคุณสายน้ำ  ของคุณดิน  ขอบคุณอากาศ  ของคุณทกสรรพสิ่ง  เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น