วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิชาจิตศึกษา ที่ลำปลายมาศพัฒนามีวิธีการเรียนการสอนอย่างไร ?

(ถามโดยครูและบุคคลทั่วไป)

ตอบ  :  จิตศึกษาเป็นวิชาที่มุ่งพัฒนาความฉลาดทางจิตวิญญาณ  (Spiritual Quotient)  เน้นการเชื่อมโยงศาสตร์ต่า่งๆ เพื่อเรียนรุ้ที่จะอยู่กับธรรมชาติอย่างอ้อนน้อม  อ่อนโยน
            เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมเป็นหนึ่งเดียว  อย่างมีความสัีมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ  ไม่แบ่งแยก  ไม่ตัดสินถูก-ผิด  ขาว-ดำ
           มีความรักความเมตตาอันอยิ่งใหญ่  มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมและการเข้าถึงแก่นแท้ของชีวิต  และความหมายของการมีชีวิตอยู่
          ตัวอย่างกิจกรรม / ศาสตร์  (เนื้อหา)
  • เด็กๆ ได้เรียนรู้จักรวาลวิทยา  เพื่อให้เห็นและตระหนักรู้ว่าตัวเองเล็กนิดเดียว  โลกเราเล็กนิดเดียว  ตัวอย่างกิจกรรม  ดูดาว  ดูพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก  สารคดีการกำเนิดมนุษย์  หรือการเกิดโลก  และจักรวาล  เรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาิต  เป็นต้น
  • เด็กๆ จะได้เรียนรุ้และสัมผัสนิเวศแนวลึก  เพื่อตระหนักว่าจักรวาลหรือโลก  คือศูนย์กลาง  ไม่ใช่มนุษย์  สิ่งต่างๆ มีคุณค่าในตัว  ไม่ได้มีคณค่าเพราะเป็นประโยชน์กับมนุษย์  ตัวอย่างกิจกรรม  การดูนก  หรือสังเกตพฤติกรรมพืช-สัตว์  การจัดการของเสียให้มีคุณค่า  การมองหาคุณค่าจากสิ่งไม่มีคุณค่า  ฯลฯ
  • เด็กๆ จะได้สัมผัสกิจกรรมทางศาสนา  พิธีกรรมบางอย่าง  กิจกรรมสวดมนต์  การภาวนาฝึกจิตภาวนาแบบทอเลน  การสร้างศัรทธาต่อชีวิตหรือบางสิ่งบางอย่างที่มีความหมายต่อตน  การฝึกให้เกิดปัญญา  สมาธิ  ความเพียร  สติ  ผ่านกิจกรรมกำกับสติ  โยคะ  รำกระบอง  ไท้เก๊ก
  • ด็กๆ จะได้ปฏิบัติงาน  ศิลปะ  ดนตรี  หรือการละคร  เพื่อการเข้าถึงความรู้สึกอันละเอียดอ่อนด้านในของมนุษย์
  • เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางสังคม  จิตอาสา  และการบำเพ็ญประโยชน์
  • เด็กๆ ได้ฝึกกิจกรรมเพื่อการรับรู้และเรียนรุ้แบบไดอะล็อค  การสนทนาที่เน้นการฟังอย่างมีคุณภาพ  ไม่ตัดสิน  เพื่อให้เกิดสติและปัญญาร่วม
  • เด็กๆ ไ้ด้มีโอกาสทำกิจกรรมการปลีกวิเวก  ไกลจากผู้คนใกล้ชิดธรรมชาติ  สงัด  สงบ  ลำพัง  เช่น  การเข้าค่ายอนุรักษ์
  • การให้เด็กๆ ได้ผ่านการทำโปรแกรมจิต  ซึ่งเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดีไว้ในจิตใต้สำนึก  โดยกำหนดวิถีชีวิตที่เรียบง่ายงดงาม  เด็กๆ คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้  และได้ทำแย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง  สอดแทรกคุณค่าอันดีงามผ่านกิจกรรมเปิดจิตใต้สำนึก
  • เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมของหลักสูตรซ่อน  ซึ่งไม่มีการกำหนดเป้าหมาย  เวลา  เครื่องมือ  หรือการวัดผลใดๆ ไว้เลย  เช่น  การเล่นอิสระ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่  หนังสือโรงเรียนนอกกะลา่  เขียนโดย  วิเชียร  ไชยบัง  
หรือดูคริปกิจกรรมได้ที่  www.lpmp.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น